วันนี้ (26 พ.ค.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เข้าบุกตรวจค้นขบวนการนำเข้ารถยนต์หรูที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร โดยการสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริงรวม 15 จุด โดยสามารถอายัดรถยนต์ รวมทั้งสิ้น 160 คัน ดีเอสไอพบข้อมูลว่า รถหรูจำนวน 42 คัน ที่ได้อายัดนั้น ถูกขโมยมาจากต่างประเทศ เลขเครื่อง-ตัวถังเดียวกัน แล้วย้อมแมวขายในไทย เบื้องต้น ดีเอสไอพบรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมมา 10 คัน อยู่ในประเทศไทย ซึ่งดีเอสไออายัดไว้แล้ว 7 คัน มีผู้ซื้อไปแล้ว 2 คัน และอยู่ในเขตปลอดภาษีของกรมศุลกากร 1 คันขณะที่รถที่เหลืออีก 32 คัน คาดว่า ยังอยู่ในประเทศไทยแต่จะมีการเคลื่อนย้ายออกจากประเทศไปหรือไม่ อยู่ระหว่างการประสานประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางกรมศุลกากรมีข้อมูลว่าประเทศเพื่อนบ้านมีรถที่หลีกเลี่ยงภาษีไปปรากฎบนถนนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนก่อน
สำหรับการติดตามอายัดรถที่หลีกเลี่ยงภาษีและสำแดงราคาต่ำ เบื้องต้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร เพื่อคัดแยกบริษัทรถนำเข้าที่เข้าข่ายทุจริต และบริษัทที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมยืนยันว่ามีบางบริษัทร่วมกันตั้งเป็นกลุ่มทุจริตนำรถหรูเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ส่วนรถที่ถูกอายัดไว้ อธิบดีดีเอสไอ ระบุว่า จะไม่มีการเคลื่อนย้ายรถมาแต่อย่างใดจะเรียกเพียงผู้ครอบครองมาสอบสวนว่ามีส่วนรู้เห็นว่ามีการซื้อรถมาโดยผิดกฎหมายหรือไม่
ขณะที่นายชัยยุทธ คำคูณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ยอมรับว่ากรมศุลกากรไม่มีมาตรฐานราคากลางของรถหรูที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ใช้วิธีการตรวจสอบเอกสารการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายว่าตรงกันหรือไม่ ทำให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสช่องว่างนี้ในการกระทำความผิด แต่ขณะนี้กรมศุลกากรและดีเอสไอได้ข้อมูลราคาการซื้อขายของรถจากบริษัทผู้ผลิตรถมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ว่ารถที่นำเข้ามาสำแดงราคาถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ ซึ่งหลังจากนี้จะมีการตรวจสอบรถหรูย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี โดยคาดว่าจะมีรถที่เข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบนับพันคัน
สำหรับการติดตามอายัดรถที่หลีกเลี่ยงภาษีและสำแดงราคาต่ำ เบื้องต้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร เพื่อคัดแยกบริษัทรถนำเข้าที่เข้าข่ายทุจริต และบริษัทที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมยืนยันว่ามีบางบริษัทร่วมกันตั้งเป็นกลุ่มทุจริตนำรถหรูเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ส่วนรถที่ถูกอายัดไว้ อธิบดีดีเอสไอ ระบุว่า จะไม่มีการเคลื่อนย้ายรถมาแต่อย่างใดจะเรียกเพียงผู้ครอบครองมาสอบสวนว่ามีส่วนรู้เห็นว่ามีการซื้อรถมาโดยผิดกฎหมายหรือไม่
ขณะที่นายชัยยุทธ คำคูณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ยอมรับว่ากรมศุลกากรไม่มีมาตรฐานราคากลางของรถหรูที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ใช้วิธีการตรวจสอบเอกสารการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายว่าตรงกันหรือไม่ ทำให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสช่องว่างนี้ในการกระทำความผิด แต่ขณะนี้กรมศุลกากรและดีเอสไอได้ข้อมูลราคาการซื้อขายของรถจากบริษัทผู้ผลิตรถมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ว่ารถที่นำเข้ามาสำแดงราคาถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ ซึ่งหลังจากนี้จะมีการตรวจสอบรถหรูย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี โดยคาดว่าจะมีรถที่เข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบนับพันคัน