นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอีอีซี ซึ่งมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน พร้อมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้หารือถึงแผนการพัฒนาท่าเรือ 3 แห่ง ประกอบด้วยท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟทางคู่ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรศึกษารูปแบบการเชื่อมโยงแบบเชิงเดี่ยว เพื่อทำให้พื้นที่อีอีซีสามารถเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ได้ด้วย
ปัจจุบันพื้นที่อีอีซีมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพียงร้อยละ 8 คาดว่าหากการเชื่อมโยงดังกล่าวประสบความสำเร็จ จะช่วยให้สัดส่วนการขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ตามมาตรฐานสากล ขณะเดียวกัน จากการเร่งรัดกระบวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พีพีพี และการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะทำให้ท่าเรือทั้ง 3 แห่งทยอยเปิดให้บริการได้ในปี 2564 - 2565 จากเดิมในปี 2566 ขณะที่รถไฟทางคู่จะพร้อมเข้ามาเชื่อมระบบประมาณปี 2565
ทั้งนี้ คาดว่าจะรวบรวมแผนงานทั้งหมดเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซีชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นกำหนดการประชุมในวันที่ 16 มิถุนายนนี้
ด้านนางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ได้รายงานในที่ประชุมอีอีซีถึงยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีช่วงปี 2558 - 2559 มีมูลค่าสูงถึง 2.87 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้มีการลงทุนจริงประมาณร้อยละ 70 เป็นการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่า 1.97 แสนล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อแผนการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานมีความชัดเจน จะทำให้นักลงทุนเป้าหมายสนใจลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีปีนี้ คาดการณ์ไว้ที่ 1.5 แสนล้านบาท
ปัจจุบันพื้นที่อีอีซีมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพียงร้อยละ 8 คาดว่าหากการเชื่อมโยงดังกล่าวประสบความสำเร็จ จะช่วยให้สัดส่วนการขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ตามมาตรฐานสากล ขณะเดียวกัน จากการเร่งรัดกระบวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พีพีพี และการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะทำให้ท่าเรือทั้ง 3 แห่งทยอยเปิดให้บริการได้ในปี 2564 - 2565 จากเดิมในปี 2566 ขณะที่รถไฟทางคู่จะพร้อมเข้ามาเชื่อมระบบประมาณปี 2565
ทั้งนี้ คาดว่าจะรวบรวมแผนงานทั้งหมดเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายอีอีซีชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นกำหนดการประชุมในวันที่ 16 มิถุนายนนี้
ด้านนางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ได้รายงานในที่ประชุมอีอีซีถึงยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีช่วงปี 2558 - 2559 มีมูลค่าสูงถึง 2.87 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้มีการลงทุนจริงประมาณร้อยละ 70 เป็นการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมูลค่า 1.97 แสนล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อแผนการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานมีความชัดเจน จะทำให้นักลงทุนเป้าหมายสนใจลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีปีนี้ คาดการณ์ไว้ที่ 1.5 แสนล้านบาท