นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ได้ออกมาตรการรับมือน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสั่งการสำนักงานทางหลวงที่ 13 (กรุงเทพฯ) และแขวงทางหลวงในสังกัดที่รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลกำหนดจุดเฝ้าระวัง จุดสุ่มเสี่ยงหรืออ่อนไหวน้ำท่วมทาง เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องมือเครื่องจักรอื่นๆ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกปลอดภัยให้พร้อมตลอดเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย อีกทั้งให้ติดตามรายงานสถานการณ์เป็นระยะๆ จะพยายามไม่ให้มีน้ำท่วมขังบนผิวจราจรและกระทบต่อการจราจร โดยในสายทางที่กรมทางหลวงรับผิดชอบได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรุงเทพมหานคร และเทศบาลในพื้นที่ ตลอดจนตำรวจท้องที่
สำหรับถนนแจ้งวัฒนะ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง มักพบปัญหาน้ำท่วมขังสูงบ่อยครั้ง เนื่องจากไม่มีคลองที่เก็บกักน้ำหรือทำหน้าที่ระบายน้ำออกจากพื้นผิวถนนเหมือนสายอื่นๆ มีเพียงคลองประปา หรือคลองเปรมประชากร ที่มีหน้าที่ผลักดันน้ำประปา ส่งผลให้มีปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายค่อนข้างนาน กระทบปัญหาจราจรติดขัดต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดว่า ในอนาคตบนถนนแจ้งวัฒนะต้องก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ที่มีแผนก่อสร้างในปี 2561 โดยเขตการก่อสร้างอยู่ตลอดแนวเกาะกลางถนน ดังนั้น กรมทางหลวงจะก่อสร้างคลองปูนระบายน้ำ ขนาดกว้าง 2 เมตร บริเวณใกล้เคียงโครงสร้างรถไฟฟ้าไปด้วย แนวคลองจะเริ่มจากแยกหลักสี่ไปถึงท่าน้ำปากเกร็ด ระยะทางยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา ระบายน้ำออกทะเล
นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้มอบให้แขวงทางหลวงกรุงเทพ ศึกษาทำแก้มลิงรับน้ำโดยขอใช้พื้นที่ใต้เขตทางด่วนแจ้งวัฒนะ แต่พื้นที่ไม่เพียงพอ จึงต้องแก้ปัญหาโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามจุดที่มีปัญหา แต่ไม่ยั่งยืน สำหรับแนวคิดดังกล่าวจะหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า ในส่วนของท่อระบายน้ำกรมทางหลวงจะรับผิดชอบค่าก่อสร้างเอง วิธีการก่อสร้างอาจจะจ้างรับเหมารถไฟฟ้าทำไปพร้อมกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-หลักสี่ เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและผลกระทบด้านการจราจร ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบและผลกระทบ ยังไม่มีรายละเอียดของงบประมาณการก่อสร้างและระยะเวลาดำเนินการ แต่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะอย่างยั่งยืน
สำหรับถนนแจ้งวัฒนะ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง มักพบปัญหาน้ำท่วมขังสูงบ่อยครั้ง เนื่องจากไม่มีคลองที่เก็บกักน้ำหรือทำหน้าที่ระบายน้ำออกจากพื้นผิวถนนเหมือนสายอื่นๆ มีเพียงคลองประปา หรือคลองเปรมประชากร ที่มีหน้าที่ผลักดันน้ำประปา ส่งผลให้มีปัญหาน้ำท่วมขังรอการระบายค่อนข้างนาน กระทบปัญหาจราจรติดขัดต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดว่า ในอนาคตบนถนนแจ้งวัฒนะต้องก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ที่มีแผนก่อสร้างในปี 2561 โดยเขตการก่อสร้างอยู่ตลอดแนวเกาะกลางถนน ดังนั้น กรมทางหลวงจะก่อสร้างคลองปูนระบายน้ำ ขนาดกว้าง 2 เมตร บริเวณใกล้เคียงโครงสร้างรถไฟฟ้าไปด้วย แนวคลองจะเริ่มจากแยกหลักสี่ไปถึงท่าน้ำปากเกร็ด ระยะทางยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา ระบายน้ำออกทะเล
นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้มอบให้แขวงทางหลวงกรุงเทพ ศึกษาทำแก้มลิงรับน้ำโดยขอใช้พื้นที่ใต้เขตทางด่วนแจ้งวัฒนะ แต่พื้นที่ไม่เพียงพอ จึงต้องแก้ปัญหาโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามจุดที่มีปัญหา แต่ไม่ยั่งยืน สำหรับแนวคิดดังกล่าวจะหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า ในส่วนของท่อระบายน้ำกรมทางหลวงจะรับผิดชอบค่าก่อสร้างเอง วิธีการก่อสร้างอาจจะจ้างรับเหมารถไฟฟ้าทำไปพร้อมกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-หลักสี่ เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนและผลกระทบด้านการจราจร ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบและผลกระทบ ยังไม่มีรายละเอียดของงบประมาณการก่อสร้างและระยะเวลาดำเนินการ แต่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนแจ้งวัฒนะอย่างยั่งยืน