นายสมณ์ พรหมรส ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แถลงเปิดศูนย์ให้บริการทางนิติวิทยาศาสตร์ 3 ด้านแก่ประชาชน ได้แก่ การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร การตรวจสารเสพติดในเส้นผม และการตรวจดีเอ็นเอ ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียม
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐมีให้บริการเฉพาะฝ่ายนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง และค่าบริการค่อนข้างแพง ทางสถาบันฯ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงเห็นถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ เพราะผู้เสียหายจากคดีอาญา คดีแพ่ง คดีฉ้อโกง โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับมรดก การทำพินัยกรรม พบว่ามีการปลอมเอกสารและลายเซ็นแต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งการตรวจพิสูจน์ทราบเกี่ยวกับลายเซ็นนั้น จะหาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ได้น้อยมาก สถาบันฯ สามารถตรวจว่าบุคคลเดียวกันเป็นคนเขียนหรือไม่ ตรวจรอยลบแก้ไข หาข้อความเดิมบนเอกสาร ตรวจการปลอมแปลงเอกสาร เช่น ธนบัตร หนังสือเดินทาง รอยประทับตรา เดิมการตรวจลักษณะนี้จะต้องรอให้ศาลมีคำสั่งเท่านั้น และเอกชนไม่สามารถตรวจให้ได้
ส่วนการตรวจดีเอ็นเอ สถาบันฯ สามารถใช้วิธีการทางชีววิทยา ที่ตรวจได้ทั้งดีเอ็นเอของคน สัตว์ และพืช หรือการตรวจดีเอ็นเอเพื่อหาสารเสพติดในเส้นผม สามารถตรวจย้อนหลังได้นานถึง 3-4 เดือน จนกว่าจะมีการตัดผม แม้ว่าจะมีการเสียชีวิตไปแล้ว แต่หากเส้นผมยังอยู่ก็สามารถตรวจได้ตลอด หรือแม้แต่ศพจะถูกฝังไปแล้วก็ตาม โดยการตรวจทุกประเภทยืนยันว่าได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เชื่อถือได้ตามหลักวิชาการแน่นอน นำไปใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ลดขั้นตอนการฟ้องร้องในศาลได้
ทั้งนี้ การให้บริการทั้ง 3 ด้านจะเริ่มเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้ โดยตั้งแต่ 1-30 มิถุนายน จะให้บริการฟรี ไม่คิดค่าธรรมเนียม แต่จำกัดจำนวน โดยการตรวจพิสูจน์เอกสาร 10 รายต่อเดือน หาสารเสพติดในเส้นผม 20 รายต่อเดือน และดีเอ็นเอ 50 รายต่อเดือน และในเดือนถัดไปจะขอคิดค่าธรรมเนียม แต่ยืนยันว่า จะคิดเฉพาะในส่วนของค่าอุปกรณ์ตามราคาทุน ไม่มีการคิดค่าเเรงเพิ่ม
สำหรับค่าบริการตรวจเอกสารจะเริ่มที่ 1,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวน ความยากง่ายและมูลค่าของเอกสาร การตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม อยู่ที่ 5,000 บาท และตรวจดีเอ็นเอ อยู่ที่ 5,000-6,000 บาท โดยจะเน้นให้บริการประชาชนที่เดือดร้อนและมีฐานะยากจนก่อน โดยประชาชนสามารถมาขอใช้บริการได้ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคาร B ชั้น 9 หรือโทรนัดหมายล่วงหน้าที่หมายเลข 02-142-3620, 062-323-9000 หรือ สายด่วน 1111 ในวันและเวลาราชการ
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐมีให้บริการเฉพาะฝ่ายนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง และค่าบริการค่อนข้างแพง ทางสถาบันฯ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงเห็นถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ เพราะผู้เสียหายจากคดีอาญา คดีแพ่ง คดีฉ้อโกง โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับมรดก การทำพินัยกรรม พบว่ามีการปลอมเอกสารและลายเซ็นแต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งการตรวจพิสูจน์ทราบเกี่ยวกับลายเซ็นนั้น จะหาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ได้น้อยมาก สถาบันฯ สามารถตรวจว่าบุคคลเดียวกันเป็นคนเขียนหรือไม่ ตรวจรอยลบแก้ไข หาข้อความเดิมบนเอกสาร ตรวจการปลอมแปลงเอกสาร เช่น ธนบัตร หนังสือเดินทาง รอยประทับตรา เดิมการตรวจลักษณะนี้จะต้องรอให้ศาลมีคำสั่งเท่านั้น และเอกชนไม่สามารถตรวจให้ได้
ส่วนการตรวจดีเอ็นเอ สถาบันฯ สามารถใช้วิธีการทางชีววิทยา ที่ตรวจได้ทั้งดีเอ็นเอของคน สัตว์ และพืช หรือการตรวจดีเอ็นเอเพื่อหาสารเสพติดในเส้นผม สามารถตรวจย้อนหลังได้นานถึง 3-4 เดือน จนกว่าจะมีการตัดผม แม้ว่าจะมีการเสียชีวิตไปแล้ว แต่หากเส้นผมยังอยู่ก็สามารถตรวจได้ตลอด หรือแม้แต่ศพจะถูกฝังไปแล้วก็ตาม โดยการตรวจทุกประเภทยืนยันว่าได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เชื่อถือได้ตามหลักวิชาการแน่นอน นำไปใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ลดขั้นตอนการฟ้องร้องในศาลได้
ทั้งนี้ การให้บริการทั้ง 3 ด้านจะเริ่มเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้ โดยตั้งแต่ 1-30 มิถุนายน จะให้บริการฟรี ไม่คิดค่าธรรมเนียม แต่จำกัดจำนวน โดยการตรวจพิสูจน์เอกสาร 10 รายต่อเดือน หาสารเสพติดในเส้นผม 20 รายต่อเดือน และดีเอ็นเอ 50 รายต่อเดือน และในเดือนถัดไปจะขอคิดค่าธรรมเนียม แต่ยืนยันว่า จะคิดเฉพาะในส่วนของค่าอุปกรณ์ตามราคาทุน ไม่มีการคิดค่าเเรงเพิ่ม
สำหรับค่าบริการตรวจเอกสารจะเริ่มที่ 1,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวน ความยากง่ายและมูลค่าของเอกสาร การตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม อยู่ที่ 5,000 บาท และตรวจดีเอ็นเอ อยู่ที่ 5,000-6,000 บาท โดยจะเน้นให้บริการประชาชนที่เดือดร้อนและมีฐานะยากจนก่อน โดยประชาชนสามารถมาขอใช้บริการได้ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคาร B ชั้น 9 หรือโทรนัดหมายล่วงหน้าที่หมายเลข 02-142-3620, 062-323-9000 หรือ สายด่วน 1111 ในวันและเวลาราชการ