นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถโดยสารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (เอ็นจีวี) 489 คันว่า เมื่อวันที่ 15-19 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้นำประกาศร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) ขึ้นเว็บไซต์ เพื่อประชาพิจารณ์เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งไม่มีข้อท้วงติงใดๆ ทางคณะกรรมการร่างทีโออาร์ฯ จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงทีโออาร์ โดยมีราคากลาง 4,021 ล้านบาท และระยะเวลาในส่งมอบ 90 วันเหมือนเดิม วางเป้าหมายว่าวันที่ 25-30 พ.ค.นี้ จะเริ่มกระบวนการเปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคา คาดว่าเดือน มิ.ย.นี้ จะได้เอกชนที่ชนะการประมูลโครงการฯ ไม่เกินเดือน ก.ค.นี้ ลงนามสัญญาและส่งมอบรถเมล์เอ็นจีวีทั้ง 489 คัน ได้ไม่เกินวันที่ 31 ต.ค.ตามที่วางกรอบเวลาไว้
ส่วนความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า 200 คันนั้น วันที่ 26 พ.ค.นี้ จะประชุมพิจารณาปรับปรุงร่างทีโออาร์การจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า 200 คัน หลังจากให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ปรึกษาโครงการไปทบทวนราคากลาง 2,702 ล้านบาท รวมทั้งศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของตัวรถเมล์ไฟฟ้าเพิ่มเติม อาทิ ราคาแบตเตอรีที่ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้ จะหารือที่ประชุมด้วยว่าจะรอข้อสรุปแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ หรือไม่ เพราะถ้านานเกินไปจะไม่ทันกับแผนการจัดซื้อรถเมล์ไฟฟ้าดังกล่าวของ ขสมก. ที่ต้องเร่งรัดดำเนินการให้รวดเร็ว โดยจะแบ่งเป็น 4 ล็อตๆ ละ 50 คันคือ ล็อตแรก ธ.ค. 60 จำนวน 50 คัน ล็อต 2 ก.พ. 61 จำนวน 50 คัน ล็อต 3 เม.ย. 61 จำนวน 50 คัน และล็อตสุดท้าย มิ.ย. 61 อีก 50 คัน
อย่างไรก็ตาม การผลิตรถเมล์ไฟฟ้าในประเทศต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงจะรับรถเมล์ไฟฟ้าได้ครบทั้ง 200 คัน
ส่วนความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า 200 คันนั้น วันที่ 26 พ.ค.นี้ จะประชุมพิจารณาปรับปรุงร่างทีโออาร์การจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า 200 คัน หลังจากให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ปรึกษาโครงการไปทบทวนราคากลาง 2,702 ล้านบาท รวมทั้งศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของตัวรถเมล์ไฟฟ้าเพิ่มเติม อาทิ ราคาแบตเตอรีที่ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้ จะหารือที่ประชุมด้วยว่าจะรอข้อสรุปแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ หรือไม่ เพราะถ้านานเกินไปจะไม่ทันกับแผนการจัดซื้อรถเมล์ไฟฟ้าดังกล่าวของ ขสมก. ที่ต้องเร่งรัดดำเนินการให้รวดเร็ว โดยจะแบ่งเป็น 4 ล็อตๆ ละ 50 คันคือ ล็อตแรก ธ.ค. 60 จำนวน 50 คัน ล็อต 2 ก.พ. 61 จำนวน 50 คัน ล็อต 3 เม.ย. 61 จำนวน 50 คัน และล็อตสุดท้าย มิ.ย. 61 อีก 50 คัน
อย่างไรก็ตาม การผลิตรถเมล์ไฟฟ้าในประเทศต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงจะรับรถเมล์ไฟฟ้าได้ครบทั้ง 200 คัน