วันนี้ (23 พ.ค.) เวลา 17.15 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ อัญเชิญพระพุทธนรสีห์ จากชั้น 3 พระที่นั่งอัมพรสถานมาประดิษฐานที่ปรัมพิธี เพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมพิธีสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ได้กราบไหว้สักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต
ทั้งนี้ ริ้วขบวนเป็นไปอย่างงดงามตามโบราณราชประเพณี ระหว่างทางที่มีการเคลื่อนริ้วขบวนประชาชนที่มาร่วมในพิธีต่างอยู่ในอาการเงียบสงบพร้อมเจริญจิตภาวนาตลอดเส้นทางที่ริ้วขบวนเคลื่อนผ่านและนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการอัญเชิญพระพุทธนรสีห์มาให้ประชาชนกราบสักการะ นับตั้งแต่ที่มีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับประวัติพระพุทธนรสีห์ เป็นพระยุคเชียงแสน ปางมารวิชัย มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ขอพระพุทธรูปองค์นี้จากเจ้าเชียงใหม่ แล้วอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ และทรงตั้งประดิษฐานไว้ที่ท้องพระโรงวังของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นวังเดิมที่อยู่บริเวณสะพานดำรงสถิตย์ (สะพานเหล็ก) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงปรารถนาหาพระพุทธรูปขนาดย่อมลงมากว่าพระที่ตั้งไว้บริเวณระเบียง เพื่อตั้งเป็นประธานขณะสร้างวัด จึงรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสาะหาพระพุทธรูปที่งามๆ มาประดิษฐาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงกราบทูลว่ามีพระพุทธรูปที่สวยงามและมีขนาดตรงตามพระประสงค์อยู่พอดี เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปเชียงแสนองค์นี้ก็พอพระทัย ออกพระโอษฐ์ว่า พระองค์นี้งามแปลกจริงๆ แล้วตรัสสั่งให้กรมวังจัดยานมาศกับขบวนแห่มารับพระพุทธรูปเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธนรสีห์ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระพุทธนรสีห์ยังสถิตอยู่ในพระราชมณเฑียรตราบจนทุกวันนี้ เมื่อพระอุโบสถชั่วคราวสร้างเสร็จ จึงอัญเชิญพระพุทธนรสีห์มาตั้งเป็นองค์ประธาน จนกระทั่งสร้างพระอุโบสถใหญ่เสร็จ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อจำลองพระพุทธชินราชมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธนรสีห์กลับไปประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต มาจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ ริ้วขบวนเป็นไปอย่างงดงามตามโบราณราชประเพณี ระหว่างทางที่มีการเคลื่อนริ้วขบวนประชาชนที่มาร่วมในพิธีต่างอยู่ในอาการเงียบสงบพร้อมเจริญจิตภาวนาตลอดเส้นทางที่ริ้วขบวนเคลื่อนผ่านและนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการอัญเชิญพระพุทธนรสีห์มาให้ประชาชนกราบสักการะ นับตั้งแต่ที่มีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับประวัติพระพุทธนรสีห์ เป็นพระยุคเชียงแสน ปางมารวิชัย มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ขอพระพุทธรูปองค์นี้จากเจ้าเชียงใหม่ แล้วอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ และทรงตั้งประดิษฐานไว้ที่ท้องพระโรงวังของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นวังเดิมที่อยู่บริเวณสะพานดำรงสถิตย์ (สะพานเหล็ก) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงปรารถนาหาพระพุทธรูปขนาดย่อมลงมากว่าพระที่ตั้งไว้บริเวณระเบียง เพื่อตั้งเป็นประธานขณะสร้างวัด จึงรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสาะหาพระพุทธรูปที่งามๆ มาประดิษฐาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงกราบทูลว่ามีพระพุทธรูปที่สวยงามและมีขนาดตรงตามพระประสงค์อยู่พอดี เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปเชียงแสนองค์นี้ก็พอพระทัย ออกพระโอษฐ์ว่า พระองค์นี้งามแปลกจริงๆ แล้วตรัสสั่งให้กรมวังจัดยานมาศกับขบวนแห่มารับพระพุทธรูปเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธนรสีห์ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระพุทธนรสีห์ยังสถิตอยู่ในพระราชมณเฑียรตราบจนทุกวันนี้ เมื่อพระอุโบสถชั่วคราวสร้างเสร็จ จึงอัญเชิญพระพุทธนรสีห์มาตั้งเป็นองค์ประธาน จนกระทั่งสร้างพระอุโบสถใหญ่เสร็จ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หล่อจำลองพระพุทธชินราชมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธนรสีห์กลับไปประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต มาจนถึงปัจจุบัน