นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะยึดการพิจารณาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามบทเฉพาะกาล ก่อนบททั่วไปในรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าหลักการคิดนี้เป็นไปได้หรือไม่ หากคิดว่าเป็นไปได้ ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของ สนช. เพราะอาจมีช่องทางที่ดีกว่า กรธ. แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะอาจมีการนำไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นปัญหาได้ในภายหลัง โดยเฉพาะประเด็นสถานภาพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน หากให้ทำหน้าที่จนครบวาระตามรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นระหว่าง กรรมการด้วยกันเอง เพราะหลังจากนี้จะมีกรรมการ กกต. เพิ่มขึ้นอีก 2 คนตามรัฐธรรมนูญปี 2560 พร้อมเห็นว่าหาก กกต.ใหม่ ทำความผิดต้องรับโทษตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งมีเงื่อนไขการทำหน้าที่มากกว่ากรรมการชุดเดิม อาจเกิดความเหลื่อมล่ำระหว่างกรรมการด้วยกันเอง
นอกจากนี้ ยังยอมรับว่าการกำหนดวาระกรรมการองค์กรอิสระต้องคำนึงถึงปัญหาของแต่ละองค์กรที่ต่างกัน สนช. ต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณา แต่ กรธ. ต้องการให้มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกองค์กร
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการกฎหมายพรรคการเมือง มีแนวคิดให้พรรคการเมืองจ่ายเงินทุนประเดิมพรรคภายหลังการจัดตั้งพรรคนั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่า ก่อนการตั้งพรรคการเมือง ต้องมีทุนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อกำหนดข้อบังคับ หรือแม้แต่การเลือกหัวหน้าพรรค ดังนั้นผู้จัดตั้งถือเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบเงินก้อนดังกล่าวนี้ก่อน เปรียบเหมือนการตั้งบริษัท
นอกจากนี้ ยังยอมรับว่าการกำหนดวาระกรรมการองค์กรอิสระต้องคำนึงถึงปัญหาของแต่ละองค์กรที่ต่างกัน สนช. ต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณา แต่ กรธ. ต้องการให้มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกองค์กร
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการกฎหมายพรรคการเมือง มีแนวคิดให้พรรคการเมืองจ่ายเงินทุนประเดิมพรรคภายหลังการจัดตั้งพรรคนั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่า ก่อนการตั้งพรรคการเมือง ต้องมีทุนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อกำหนดข้อบังคับ หรือแม้แต่การเลือกหัวหน้าพรรค ดังนั้นผู้จัดตั้งถือเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบเงินก้อนดังกล่าวนี้ก่อน เปรียบเหมือนการตั้งบริษัท