นายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยผลการให้บริการประชาชนเลือกชำระภาษีรถประจำปีหลากหลายช่องทาง พบว่า ในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ประชาชนนิยมใช้บริการรับชำระภาษีรถยนต์ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 ของกรมการขนส่งทางบก จำนวน 434,347 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 406 ล้านบาท รองลงมาผ่านช่องทาง "เลื่อนล้อ ต่อภาษี" (ไดร์ฟ ทรู ฟอร์ แท็กซ์) ชำระภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ จำนวน 60,109 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 109 ล้านบาท และการใช้บริการชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์ – อาทิตย์ตามโครงการ "ชอปให้พอ แล้วต่อภาษี" (ชอปทรูฟอร์แท็กซ์) มีประชาชนใช้บริการ 38,553 ราย จัดเก็บภาษีรถได้ 57 ล้านบาทบาท การรับชำระภาษีรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th จัดเก็บภาษีได้ 13 ล้านบาท
สำหรับส่วนที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.00 น. จัดเก็บภาษี 11.71 ล้านบาท ส่วนช่องทางอื่นๆ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 7,752,430 บาท และการรับชำระภาษีรถที่ไปรษณีย์และผ่านโทรศัพท์มือถือ จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 1.6 ล้านบาท
นอกจากนี้ ได้นำระบบคิวอาร์โคด ใช้เป็นช่องทางเข้าถึงแอปพลิเคชั่น DLT eForm แอปพลิเคชั่นที่ให้บริการด้านทะเบียนและภาษีรถ พร้อมจัดตั้ง "ศูนย์ราชการสะดวก" (กัฟเวอร์เมนท์ อีซี คอนแทค เซ็นเตอร์ หรือ จีอีซีซี) ที่สำนักงานขชนส่งทางกรุงเทพพื้นที่ 1-4 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนติดต่อสอบถามข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
ส่วนเจ้าของรถที่มีความประสงค์ชำระภาษีรถล่วงหน้า สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และต้องเป็นรถที่ไม่ค้างชำระภาษีรถเกินกว่า 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน ซึ่งปัจจุบันมีระบบการรายงานผลแบบออนไลน์ ทำให้เจ้าของรถได้รับความสะดวกมากขึ้น
สำหรับส่วนที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.00 น. จัดเก็บภาษี 11.71 ล้านบาท ส่วนช่องทางอื่นๆ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 7,752,430 บาท และการรับชำระภาษีรถที่ไปรษณีย์และผ่านโทรศัพท์มือถือ จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 1.6 ล้านบาท
นอกจากนี้ ได้นำระบบคิวอาร์โคด ใช้เป็นช่องทางเข้าถึงแอปพลิเคชั่น DLT eForm แอปพลิเคชั่นที่ให้บริการด้านทะเบียนและภาษีรถ พร้อมจัดตั้ง "ศูนย์ราชการสะดวก" (กัฟเวอร์เมนท์ อีซี คอนแทค เซ็นเตอร์ หรือ จีอีซีซี) ที่สำนักงานขชนส่งทางกรุงเทพพื้นที่ 1-4 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนติดต่อสอบถามข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
ส่วนเจ้าของรถที่มีความประสงค์ชำระภาษีรถล่วงหน้า สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และต้องเป็นรถที่ไม่ค้างชำระภาษีรถเกินกว่า 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน ซึ่งปัจจุบันมีระบบการรายงานผลแบบออนไลน์ ทำให้เจ้าของรถได้รับความสะดวกมากขึ้น