นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอกซ์เตอร์, เคมบริดจ์ และคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร ได้ทำการสำรวจแก่นน้ำแข็ง 5 จุด ใน 3 พื้นที่ที่อยู่ห่างจากกันของทวีปแอนตาร์กติกา พบว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโตของมอสในทวีปแอนตาร์กติกาได้เพิ่มขึ้น 4-5 เท่า โดยสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้อุณหภูมิในทวีปแอนตาร์กติกาสูงขึ้น และการละลายของชั้นน้ำแข็ง ทำให้มอสมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า โดยทั่วไปสภาพอากาศที่หนาวเย็นและสภาพแวดล้อมที่มีแสงอาทิตย์น้อยของทวีปแอนตาร์กติกา เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่การค้นพบว่าจำนวนมอสในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มสูงขึ้นนั้น ยังไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลนัก เพราะก่อนหน้านี้มีการค้นพบว่า มอสและหญ้าอีก 2 ชนิดต่างเป็นพืชท้องถิ่นของทวีปแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลมากกว่า คือ ภาวะโลกร้อนอาจทำให้พืชต่างถิ่นสามารถเจริญเติบโตบนทวีปแอนตาร์กติกาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก
การค้นพบครั้งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า แม้แต่ทวีปที่ห่างไกลและไม่มีมนุษย์อาศัย ก็ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกไม่เพียงทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายและปริมาณน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาของทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังระบุว่า โดยทั่วไปสภาพอากาศที่หนาวเย็นและสภาพแวดล้อมที่มีแสงอาทิตย์น้อยของทวีปแอนตาร์กติกา เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่การค้นพบว่าจำนวนมอสในทวีปแอนตาร์กติกาเพิ่มสูงขึ้นนั้น ยังไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลนัก เพราะก่อนหน้านี้มีการค้นพบว่า มอสและหญ้าอีก 2 ชนิดต่างเป็นพืชท้องถิ่นของทวีปแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลมากกว่า คือ ภาวะโลกร้อนอาจทำให้พืชต่างถิ่นสามารถเจริญเติบโตบนทวีปแอนตาร์กติกาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก
การค้นพบครั้งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า แม้แต่ทวีปที่ห่างไกลและไม่มีมนุษย์อาศัย ก็ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกไม่เพียงทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายและปริมาณน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาของทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย