นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องเกือบทั่วไป แต่ในบางพื้นที่ยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนตกไม่ทั่วถึง และปริมาณน้ำในเขื่อนหลักต่างๆ ยังมีปริมาณน้อย กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงมีการปรับแผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดรับกับฤดูฝน
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฎิบัติการฝนหลวงให้เหมาะสมกับพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการปรับแผน การปฏิบัติการที่รอบคอบมากขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่การเกษตร และพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาน้ำท่วม โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และสำนักงานชลประทานในพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และปฏิบัติการเฉพาะในพื้นที่ขอรับบริการและเติมน้ำในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนหลักเพื่อสำรองน้ำ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการในพื้นที่เสี่ยงการเกิดน้ำท่วมไปพร้อมกัน โดยการโจมตีกลุ่มเมฆให้ฝนตกเฉพาะในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนหลัก จะช่วยลดจำนวนกลุ่มเมฆที่จะเคลื่อนตัวไปยังพื้นที่ข้างเคียงและพื้นที่การเกษตรที่มีปริมาณน้ำเพียงพอแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายในพื้นที่ดังกล่าวที่จะเสี่ยงเป็นพื้นที่น้ำท่วมอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม - 17 พฤษภาคม 2560 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 72 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 97.5 ขึ้นปฏิบัติงานจำนวน 1,434 เที่ยวบิน (2,024:15 ชั่วโมงบิน) ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 1,237.73 ตัน พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับภารกิจปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 433 นัด และภารกิจปฏิบัติการยับยั้งความรุนแรงพายุลูกเห็บจำนวน 1,176 นัด จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 55 จังหวัด และ ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมรวม 257.45 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฎิบัติการฝนหลวงให้เหมาะสมกับพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการปรับแผน การปฏิบัติการที่รอบคอบมากขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่การเกษตร และพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาน้ำท่วม โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และสำนักงานชลประทานในพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และปฏิบัติการเฉพาะในพื้นที่ขอรับบริการและเติมน้ำในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนหลักเพื่อสำรองน้ำ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการในพื้นที่เสี่ยงการเกิดน้ำท่วมไปพร้อมกัน โดยการโจมตีกลุ่มเมฆให้ฝนตกเฉพาะในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนหลัก จะช่วยลดจำนวนกลุ่มเมฆที่จะเคลื่อนตัวไปยังพื้นที่ข้างเคียงและพื้นที่การเกษตรที่มีปริมาณน้ำเพียงพอแล้ว ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายในพื้นที่ดังกล่าวที่จะเสี่ยงเป็นพื้นที่น้ำท่วมอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม - 17 พฤษภาคม 2560 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 72 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 97.5 ขึ้นปฏิบัติงานจำนวน 1,434 เที่ยวบิน (2,024:15 ชั่วโมงบิน) ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 1,237.73 ตัน พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับภารกิจปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 433 นัด และภารกิจปฏิบัติการยับยั้งความรุนแรงพายุลูกเห็บจำนวน 1,176 นัด จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 55 จังหวัด และ ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมรวม 257.45 ล้านลูกบาศก์เมตร