พลตรีธรรมนูญ วิถี รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นประธานประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากการเป็นหนี้สิน ของกลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย หรือ คนท. โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) กำชับให้เร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตร หลังมีมติยุบ 3 บอร์ด ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะกรรมการจัดการหนี้สินของเกษตร วันนี้ (18 พ.ค.) จึงได้เชิญกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เข้ามาพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ในส่วนลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติพร้อม ธนาคารสามารถซื้อหนี้ได้ กองทุนฯ จะได้ให้คำแนะนำ กกล.รส. ในแต่ละพื้นที่ว่าจะต้องทำอย่างไร รวมถึงลูกหนี้ที่ยังไม่เข้าคุณสมบัติจะหาแนวทางช่วยเหลืออย่างไรต่อไป
ด้านนายศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล อดีตรองกรรมการบริหาร กฟก. กล่าวว่า หลังจาก กรรมการ 3 บอร์ดถูกยุบ ทางทหารเห็นว่าจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาของชาวบ้านล่าช้า อาจทำให้สูญเสียที่ดินทำกิน จึงเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆมาร่วมแก้ปัญหาการถูกฟ้อง ยึดขับไล่ที่ดิน โดยจะขอความร่วมมือกับทางธนาคารซึ่งจะต้องคุยกันในอนาคต ในส่วนของทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร วันนี้มารับฟังแนวทางเพื่อพิจารณาว่าอะไรที่สามารถดำเนินการได้เลย เช่น การซื้อหนี้ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เบื้องต้นมี 2 พันราย รวมหนี้ทั้งหมดประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหานี้ไปก่อนเพื่อบรรเทาการถูกยึดที่ดิน ทั้งนี้ต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. และแม่ทัพภาคที่ 1 ที่ช่วยเร่งรัด
นายศวัจน์ กล่าวถึงการใช้มาตรา 44 ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจว่า เห็นว่ามีความจำเป็น เนื่องการขับเคลื่อนกองทุนต้องมีกรรมการที่คอยออกมติ ในขณะที่ฝ่ายสำนักงานก็ออกแผนปฏิบัติ ตนเห็นด้วยหากต้องใช้ ม.44 เพราะไม่มีอะไรที่จะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตนรู้สึกสบายใจ แม้ว่าเม็ดเงินในตอนนี้จะมีน้อยแต่การออกเป็นนโยบาย ขอความร่วมมือฝ่ายต่างๆ ทางทหารทำได้ดี น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ ซึ่งน่าจะเห็นเป็นรูปร่างภายในไตรมาสนี้
ด้านนายศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล อดีตรองกรรมการบริหาร กฟก. กล่าวว่า หลังจาก กรรมการ 3 บอร์ดถูกยุบ ทางทหารเห็นว่าจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาของชาวบ้านล่าช้า อาจทำให้สูญเสียที่ดินทำกิน จึงเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆมาร่วมแก้ปัญหาการถูกฟ้อง ยึดขับไล่ที่ดิน โดยจะขอความร่วมมือกับทางธนาคารซึ่งจะต้องคุยกันในอนาคต ในส่วนของทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร วันนี้มารับฟังแนวทางเพื่อพิจารณาว่าอะไรที่สามารถดำเนินการได้เลย เช่น การซื้อหนี้ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เบื้องต้นมี 2 พันราย รวมหนี้ทั้งหมดประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหานี้ไปก่อนเพื่อบรรเทาการถูกยึดที่ดิน ทั้งนี้ต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. และแม่ทัพภาคที่ 1 ที่ช่วยเร่งรัด
นายศวัจน์ กล่าวถึงการใช้มาตรา 44 ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจว่า เห็นว่ามีความจำเป็น เนื่องการขับเคลื่อนกองทุนต้องมีกรรมการที่คอยออกมติ ในขณะที่ฝ่ายสำนักงานก็ออกแผนปฏิบัติ ตนเห็นด้วยหากต้องใช้ ม.44 เพราะไม่มีอะไรที่จะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตนรู้สึกสบายใจ แม้ว่าเม็ดเงินในตอนนี้จะมีน้อยแต่การออกเป็นนโยบาย ขอความร่วมมือฝ่ายต่างๆ ทางทหารทำได้ดี น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ ซึ่งน่าจะเห็นเป็นรูปร่างภายในไตรมาสนี้