รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ล่าสุดการพัฒนาซอฟต์แวร์ บนแอปพลิเคชันแท็กซี่โอเค เพื่อใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแสร็จสิ้นแล้ว ทั้งในส่วนของระบบฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งภายในรถแท็กซี่ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ส่วนควบ ได้แก่ จีพีเอส (GPS Tracking) พร้อมเครื่องบ่งชี้คนขับที่ใช้กับใบขับขี่ กล้องซีซีทีวี (CCTV Snap Shot) ปุ่มฉุกเฉินเตือนภัย จอแสดงข้อมูลดิจิตอล เชื่อมข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถแท็กซี่ (ศูนย์จีพีเอส) ของกรมการขนส่งทางบก โดยข้อมูลคนขับและระบบจีพีเอสจะเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนของผู้โดยสาร จากนั้น ข้อมูลจากรถแท็กซี่จะถูกส่งไปยังศูนย์บริหารจัดการย่อยของแต่ละสหกรณ์ และข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังศูนย์บริหารจัดการแท็กซี่ของกรมขนส่งทางบกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการเชื่อมต่อของระบบผ่านเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินรถ จะช่วยให้ส่งค่าตำแหน่งพิกัดการเดินรถ ความเร็ว สถานะเครื่องยนต์ การแสดงตนของผู้ขับขี่ รายงานค่ามิเตอร์ และข้อมูลการจองรถ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับปุ่มเปิดปิดสถานะไฟว่าง กล้องบันทึกภาพซึ่งจะมีการบันทึกภาพทุก 1 นาที และปุ่มฉุกเฉินรายงานเหตุฉุกเฉินแบบเรียลไทม์
ทั้งนี้ สำหรับแอปพลิเคชันแท็กซี่โอเค สามารถเรียกรถแท็กซี่ได้ทุกสหกรณ์
ขณะนี้ทั่วประเทศมีรถแท็กซี่ร่วมเป็นแท็กซี่โอเค ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ทั้งสิ้น 92,829 คัน (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2560) ส่วนกฎหมายที่ออกมารองรับแท็กซี่โอเคอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา ก่อนประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้นอีก 120 วัน จึงบังคับใช้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะทันใช้กฎหมายฉบับนี้
ส่วนหลังจากการประกาศใช้แล้ว ต้องใช้ในรถแท็กซี่ 2 กลุ่ม คือ รถแท็กซี่เก่าที่จะมีมิเตอร์อยู่แล้ว ต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ อาทิ จีพีเอส เครื่องรูดบัตรแสดงตัวตน กล้อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ราคาจะต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนกลุ่มรถแท็กซี่ใหม่ที่ยังไม่มีอุปกรณ์ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบเหล่านี้ทั้งหมด ราคาปัจจุบันที่มีการวิจัยและพัฒนาไม่เกิน 10,000 บาทเช่นกัน สำหรับค่าเรียกใช้บริการจากแอปพลิเคชัน ขึ้นอยู่กับศูนย์ที่บริการจัดการเอง เพราะกรมการขนส่งทางบกไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสำหรับแท็กซี่โอเคคือการจัดตั้งศูนย์บริการจัดการข้อมูลแท็กซี่ข้อมูลย่อยของแต่ละสหกรณ์ที่สังกัดอยู่ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลได้ ขณะนี้หลายศูนย์กำลังดำเนินการ เพราะปัจจุบันเปิดเป็นศูนย์วิทยุอยู่แล้ว สามารถพัฒนาได้ทันที รวมทั้งศูนย์ย่อย ต้องบริหารจัดการ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับทางกรมการขนส่ง และตำรวจได้ ส่วนการใช้แอปพลิเคชันไปสู่ผู้ใช้บริการ ต้องดำเนินการปรับใช้รองรับกับกฎหมายที่ออกมาได้
ทั้งนี้ สำหรับแอปพลิเคชันแท็กซี่โอเค สามารถเรียกรถแท็กซี่ได้ทุกสหกรณ์
ขณะนี้ทั่วประเทศมีรถแท็กซี่ร่วมเป็นแท็กซี่โอเค ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ทั้งสิ้น 92,829 คัน (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2560) ส่วนกฎหมายที่ออกมารองรับแท็กซี่โอเคอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา ก่อนประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้นอีก 120 วัน จึงบังคับใช้ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะทันใช้กฎหมายฉบับนี้
ส่วนหลังจากการประกาศใช้แล้ว ต้องใช้ในรถแท็กซี่ 2 กลุ่ม คือ รถแท็กซี่เก่าที่จะมีมิเตอร์อยู่แล้ว ต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ อาทิ จีพีเอส เครื่องรูดบัตรแสดงตัวตน กล้อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ราคาจะต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนกลุ่มรถแท็กซี่ใหม่ที่ยังไม่มีอุปกรณ์ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบเหล่านี้ทั้งหมด ราคาปัจจุบันที่มีการวิจัยและพัฒนาไม่เกิน 10,000 บาทเช่นกัน สำหรับค่าเรียกใช้บริการจากแอปพลิเคชัน ขึ้นอยู่กับศูนย์ที่บริการจัดการเอง เพราะกรมการขนส่งทางบกไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสำหรับแท็กซี่โอเคคือการจัดตั้งศูนย์บริการจัดการข้อมูลแท็กซี่ข้อมูลย่อยของแต่ละสหกรณ์ที่สังกัดอยู่ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลได้ ขณะนี้หลายศูนย์กำลังดำเนินการ เพราะปัจจุบันเปิดเป็นศูนย์วิทยุอยู่แล้ว สามารถพัฒนาได้ทันที รวมทั้งศูนย์ย่อย ต้องบริหารจัดการ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับทางกรมการขนส่ง และตำรวจได้ ส่วนการใช้แอปพลิเคชันไปสู่ผู้ใช้บริการ ต้องดำเนินการปรับใช้รองรับกับกฎหมายที่ออกมาได้