เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงนโยบายการบริการท่าเทียบเรือสำราญที่ท่าเรือกรุงเทพ และที่ท่าเรือแหลมฉบัง ของนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า กทท. ได้จ้างเอกชนดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสำราญ (Cruise Terminal) ภายในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งพื้นที่อื่นในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ โดยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำในภูมิภาคอาเซียน ช่วยสร้างรายได้ประชากรและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รองรับการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวสอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางโดยเรือสำราญ ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งฯ และคาดว่าจะทราบพื้นที่เป้าหมายภายในปี 2561
สำหรับแผนการจัดตั้งท่าเทียบเรือสำราญ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขยายกิจการท่าเรือและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือในระยะยาว การส่งเสริมของรัฐบาลในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำ และการเพิ่มท่าเทียบเรือสำราญให้สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบของท่าเรือหลัก และท่าเรือแวะพัก
ทั้งนี้ ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีท่าเทียบเรือ A1 และ ท่าเรือกรุงเทพใช้พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือ OB ในการรองรับเรือสำราญ รวม 2 ท่าหลัก
สำหรับแผนการจัดตั้งท่าเทียบเรือสำราญ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขยายกิจการท่าเรือและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือในระยะยาว การส่งเสริมของรัฐบาลในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำ และการเพิ่มท่าเทียบเรือสำราญให้สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบของท่าเรือหลัก และท่าเรือแวะพัก
ทั้งนี้ ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีท่าเทียบเรือ A1 และ ท่าเรือกรุงเทพใช้พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือ OB ในการรองรับเรือสำราญ รวม 2 ท่าหลัก