นายสุจิณ มั่งนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง เปิดเผยว่า สำนักความปลอดภัยได้จัดทำเส้นจราจรแบบสันนูน (Profile Marking) มีลักษณะเป็นพื้นนูนบนเส้นไหล่ทางและข้างเส้นไหล่ทาง ความถี่ห่างกัน 20 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นเตือนผู้ขับขี่ที่หลับใน เมื่อขับรถทับเส้นไหล่ทางจะรู้สึกตื่นตัวเพราะรถจะสั่นสะเทือนปลุกผู้ขับขี่ ซึ่งใช้กันมากในแถบประเทศยุโรปและญี่ปุ่น ช่วยลดอุบัติเหตุได้ถึงร้อยละ 25-30 หากตีเส้นความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร จะใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบจุดเสี่ยงต่อการหลับในบนทางหลวงทั่วประเทศทั้งหมด 143 จุด โดยจะทำเพิ่มบนทางหลวงภาคเหนือขาไป ตั้งแต่ อ.เถิน จ. ลำปาง ถึงช่วงก่อนเข้า จ.เชียงใหม่ และถนนภาคเหนือขากลับ ตั้งแต่ช่วง อ.เถิน ถึง จ.สิงห์บุรี เพื่อประเมินผลนำรายงานเสนอของบประมาณดำเนินการให้ครบทั้ง 143 จุดต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้ได้นำร่องทดลองตีเส้นปลุกคนหลับในบนทางหลวงสู่ภาคใต้ ช่วงเพชรบุรี-วังมะนาว เมื่อปลายปี 2559 ปรากฏว่าอุบัติเหตุจากการหลับในลดลง
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบจุดเสี่ยงต่อการหลับในบนทางหลวงทั่วประเทศทั้งหมด 143 จุด โดยจะทำเพิ่มบนทางหลวงภาคเหนือขาไป ตั้งแต่ อ.เถิน จ. ลำปาง ถึงช่วงก่อนเข้า จ.เชียงใหม่ และถนนภาคเหนือขากลับ ตั้งแต่ช่วง อ.เถิน ถึง จ.สิงห์บุรี เพื่อประเมินผลนำรายงานเสนอของบประมาณดำเนินการให้ครบทั้ง 143 จุดต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้ได้นำร่องทดลองตีเส้นปลุกคนหลับในบนทางหลวงสู่ภาคใต้ ช่วงเพชรบุรี-วังมะนาว เมื่อปลายปี 2559 ปรากฏว่าอุบัติเหตุจากการหลับในลดลง