เวลา 10.24 น. วันนี้ (12 พ.ค.) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา โดยมี น.ส.กอบกุล กาญจนาลัย ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง กราบบังคมทูลถวายรายงานการดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ว่า ปี 2560 โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้ดำเนินกิจกรรมการสาธิต ทดลอง และเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มาครบ 56 ปี นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงปลูกต้นยางนาในปี 2504 และในปีต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงโคนม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอุตสาหกรรมนมของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จนเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดในปัจจุบัน
อีกทั้งพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนม ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า พระองค์เป็นพระบิดาแห่งวงการโคนม และอาชีพการเลี้ยงโคนมถือเป็น "อาชีพพระราชทาน"
ในปีนี้ โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้รับพระราชทานพระราโชบายจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ย้ายโรงโคนม รวมทั้งอาคารโรงงานตั้งแต่โรงสีข้าว จนถึงอาคารผลิตภัณฑ์อาหารและยาแผนโบราณ ไปสร้างที่บริเวณป่าบนและป่าล่างภายในสวนจิตรลดา อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ การเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเป็นแนวทางในการสานต่อพระราชปณิธานของพระมหากษัตริย์เกษตร สืบไป
พร้อมกันนี้ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้จัดแสดงนิทรรศการ 56 ปีย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา โดยกรมอนามัยและกรมประมง ได้ร่วมจัดแสดงด้วย
จากนั้น ทูลเกล้าฯ ถวายวีดิทัศน์การดำเนินงาน และงบการเงินของโครงการฯ พร้อมเบิกอธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ กรรมการสหกรณ์โคนมสมาชิกผู้รับนมสด สวนจิตรลดา ผู้แทนครูบัญชีดีเด่น เฝ้าฯ รับเสด็จ
โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าพเจ้ามาพบกับท่านทั้งหลายแทนพระองค์ ข้าพเจ้ายินดีมากที่ได้มาพบปะวิสาสะกับท่านทั้งหลายผู้เป็นกำลังสำคัญในงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ของประเทศ ในโอกาสวันพืชมงคลอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่โครงการส่วนพระองค์และทุกคนทุกฝ่ายได้ร่วมกันปฏิบัติพัฒนางาน และสนับสนุนกิจการของโครงการส่วนพระองค์ฯ อย่างเต็มกำลังความสามารถมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ทำให้กิจการงานต่างๆ ดำเนินก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งขอขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมโครงการด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีตลอดทุกปีมา
สำหรับท่านที่เป็นตัวแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหลาย ข้าพเจ้าใคร่จะปรารภแก่ท่านว่า ทุกวันนี้ โลกของเราเปลี่ยนไปเร็วมาก จึงจำเป็นที่ทุกคนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้รู้ให้เข้าใจ จะได้นำมาปรับใช้ในการพัฒนางาน ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่าย ตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มหรือสหกรณ์ ให้เจริญก้าวหน้า การที่ท่านทั้งหลายได้มาเข้ารับการอบรมความรู้ทางราชการ และมาเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ในวันนี้ ก็นับเป็นทางหนึ่งที่จะได้ศึกษาเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทั้งยังได้เห็นตัวอย่างที่ดีของการทดลอง ค้นคว้า วิจัย และดำเนินงานด้านการเกษตรอย่างครบวงจรอีกด้วย ขอให้ทุกท่านตั้งใจเรียนรู้และศึกษาสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะได้นำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ไปถ่ายทอดแก่มวลสมาชิก รวมทั้งปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานอย่างเหมาะสม หากทำได้ดังนี้ งานด้านเกษตรกรรมที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอยู่ก็ย่อมจะดำเนินก้าวหน้า เป็นรากฐานอันมั่นคงให้บ้านเมืองของเรามีความเจริญยั่งยืนสืบไป
จากนั้น เสด็จฯ ออกจากพลับพลาพิธี ทรงเยี่ยมเกษตรกรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ 56 ปี ย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการส่วนพระองค์ฯ ยังคงสืบสานแนวพระราชปณิธาน อย่างมั่นคง และยึดหลักการดำเนินงานตามแนว "พระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 6 ชุด ได้แก่ ทศวรรษที่ 1 พ.ศ. 2504 - 2523 ประกอบด้วยโครงการป่าไม้สาธิตโครงการนาข้าวทดลอง โรงโคนมสวนจิตรลดา บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และโรงนมผงสวนดุสิต ทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2504 -2523 ประกอบด้วยโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ฉางไม้แบบสหกรรณ์ ศูนย์รวมนม โรงบดแกลบ ทศวรรษที่ 3 พ.ศ. 2524 - 2533 ประกอบด้วย งานควบคุมคุณภาพ โรงนมอัดเม็ด สวนดุสิต โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ โรงผลิตภัณฑ์อบแห้ง โรงปุ๋ยอินทรีย์ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โรงหล่อเทียนหลวง โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา โรงน้ำดื่มสวนจิตรลดา งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โรงเพาะเห็ด สวนจิตรลดา
ทศวรรษที่ 4 พ.ศ. 2534 - 2543 ประกอบด้วย โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง สวนจิตรลดา โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง โรงกระดาษ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื่อเพลิง งานฝึกอบรม งานคลังผลิตภัณฑ์ หน่วยประกันคุณภาพ ทศวรรษที่ 5 พ.ศ. 2544 - 2553 ประกอบด้วยโรงงานยูเอชที สวนจิตรลดา หน่วยคบคุมและพัฒนาระบบคุณภาพไบโอดีเซล งานประชาสัมพันธ์และนำชมหน่วยประกันคุณภาพโรงงาน หน่วยสัตวบาล โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ และทศวรรษที่ 6 พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ โรงงานแปรรูปนม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อาคารศูนย์ควบคุมและประกันคุณภาพ
ในการนี้ เสด็จพระราชดำเนินไปยังหน้าอาคารสำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร โดยโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินงานอยู่ภายใต้แผนแม่บทระยะละ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ "ความก้าวหน้าโครงการใช้ประโยชน์พืชอนุรักษ์ อด.สธ. มะเกี๋ยงน้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดาย" นิทรรศการ "งานบริการวิชาการ ฝ่ายวิชาการ อพ.สธ."
ต่อมา เสด็จพระราชดำเนินยังอาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และอาคารธนาคารข้อมูล ทอดพระเนตรนิทรรศการ "สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์" จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ โรงเรียนเชียงเพ็ญวิทยา จ.อุดรธานี และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด และทอดพระเนตรนิทรรศการ "งานศึกษาวิจัยและพัฒนาการย้อมเส้นไหมจากธรรมชาติให้ได้สีที่มีคุณภาพสูง" หลังจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังโครงการนาทดลอง สวนจิตรลดา ทอดพระเนตรนิทรรศการ ที่ห้องนิทรรศการกรมการข้าว ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ
อีกทั้งพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนม ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า พระองค์เป็นพระบิดาแห่งวงการโคนม และอาชีพการเลี้ยงโคนมถือเป็น "อาชีพพระราชทาน"
ในปีนี้ โครงการส่วนพระองค์ฯ ได้รับพระราชทานพระราโชบายจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ย้ายโรงโคนม รวมทั้งอาคารโรงงานตั้งแต่โรงสีข้าว จนถึงอาคารผลิตภัณฑ์อาหารและยาแผนโบราณ ไปสร้างที่บริเวณป่าบนและป่าล่างภายในสวนจิตรลดา อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ การเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเป็นแนวทางในการสานต่อพระราชปณิธานของพระมหากษัตริย์เกษตร สืบไป
พร้อมกันนี้ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้จัดแสดงนิทรรศการ 56 ปีย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา โดยกรมอนามัยและกรมประมง ได้ร่วมจัดแสดงด้วย
จากนั้น ทูลเกล้าฯ ถวายวีดิทัศน์การดำเนินงาน และงบการเงินของโครงการฯ พร้อมเบิกอธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ กรรมการสหกรณ์โคนมสมาชิกผู้รับนมสด สวนจิตรลดา ผู้แทนครูบัญชีดีเด่น เฝ้าฯ รับเสด็จ
โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าพเจ้ามาพบกับท่านทั้งหลายแทนพระองค์ ข้าพเจ้ายินดีมากที่ได้มาพบปะวิสาสะกับท่านทั้งหลายผู้เป็นกำลังสำคัญในงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ของประเทศ ในโอกาสวันพืชมงคลอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่โครงการส่วนพระองค์และทุกคนทุกฝ่ายได้ร่วมกันปฏิบัติพัฒนางาน และสนับสนุนกิจการของโครงการส่วนพระองค์ฯ อย่างเต็มกำลังความสามารถมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ทำให้กิจการงานต่างๆ ดำเนินก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งขอขอบใจเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมโครงการด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีตลอดทุกปีมา
สำหรับท่านที่เป็นตัวแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหลาย ข้าพเจ้าใคร่จะปรารภแก่ท่านว่า ทุกวันนี้ โลกของเราเปลี่ยนไปเร็วมาก จึงจำเป็นที่ทุกคนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้รู้ให้เข้าใจ จะได้นำมาปรับใช้ในการพัฒนางาน ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่าย ตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มหรือสหกรณ์ ให้เจริญก้าวหน้า การที่ท่านทั้งหลายได้มาเข้ารับการอบรมความรู้ทางราชการ และมาเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ในวันนี้ ก็นับเป็นทางหนึ่งที่จะได้ศึกษาเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทั้งยังได้เห็นตัวอย่างที่ดีของการทดลอง ค้นคว้า วิจัย และดำเนินงานด้านการเกษตรอย่างครบวงจรอีกด้วย ขอให้ทุกท่านตั้งใจเรียนรู้และศึกษาสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะได้นำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ไปถ่ายทอดแก่มวลสมาชิก รวมทั้งปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานอย่างเหมาะสม หากทำได้ดังนี้ งานด้านเกษตรกรรมที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอยู่ก็ย่อมจะดำเนินก้าวหน้า เป็นรากฐานอันมั่นคงให้บ้านเมืองของเรามีความเจริญยั่งยืนสืบไป
จากนั้น เสด็จฯ ออกจากพลับพลาพิธี ทรงเยี่ยมเกษตรกรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ 56 ปี ย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการส่วนพระองค์ฯ ยังคงสืบสานแนวพระราชปณิธาน อย่างมั่นคง และยึดหลักการดำเนินงานตามแนว "พระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 6 ชุด ได้แก่ ทศวรรษที่ 1 พ.ศ. 2504 - 2523 ประกอบด้วยโครงการป่าไม้สาธิตโครงการนาข้าวทดลอง โรงโคนมสวนจิตรลดา บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และโรงนมผงสวนดุสิต ทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2504 -2523 ประกอบด้วยโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ฉางไม้แบบสหกรรณ์ ศูนย์รวมนม โรงบดแกลบ ทศวรรษที่ 3 พ.ศ. 2524 - 2533 ประกอบด้วย งานควบคุมคุณภาพ โรงนมอัดเม็ด สวนดุสิต โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ โรงผลิตภัณฑ์อบแห้ง โรงปุ๋ยอินทรีย์ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โรงหล่อเทียนหลวง โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา โรงน้ำดื่มสวนจิตรลดา งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โรงเพาะเห็ด สวนจิตรลดา
ทศวรรษที่ 4 พ.ศ. 2534 - 2543 ประกอบด้วย โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง สวนจิตรลดา โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง โรงกระดาษ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื่อเพลิง งานฝึกอบรม งานคลังผลิตภัณฑ์ หน่วยประกันคุณภาพ ทศวรรษที่ 5 พ.ศ. 2544 - 2553 ประกอบด้วยโรงงานยูเอชที สวนจิตรลดา หน่วยคบคุมและพัฒนาระบบคุณภาพไบโอดีเซล งานประชาสัมพันธ์และนำชมหน่วยประกันคุณภาพโรงงาน หน่วยสัตวบาล โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ และทศวรรษที่ 6 พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ โรงงานแปรรูปนม โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อาคารศูนย์ควบคุมและประกันคุณภาพ
ในการนี้ เสด็จพระราชดำเนินไปยังหน้าอาคารสำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร โดยโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินงานอยู่ภายใต้แผนแม่บทระยะละ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ "ความก้าวหน้าโครงการใช้ประโยชน์พืชอนุรักษ์ อด.สธ. มะเกี๋ยงน้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดาย" นิทรรศการ "งานบริการวิชาการ ฝ่ายวิชาการ อพ.สธ."
ต่อมา เสด็จพระราชดำเนินยังอาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และอาคารธนาคารข้อมูล ทอดพระเนตรนิทรรศการ "สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์" จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ โรงเรียนเชียงเพ็ญวิทยา จ.อุดรธานี และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด และทอดพระเนตรนิทรรศการ "งานศึกษาวิจัยและพัฒนาการย้อมเส้นไหมจากธรรมชาติให้ได้สีที่มีคุณภาพสูง" หลังจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังโครงการนาทดลอง สวนจิตรลดา ทอดพระเนตรนิทรรศการ ที่ห้องนิทรรศการกรมการข้าว ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ