นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวถึงการเชิญคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมหารือเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เรื่องกรอบเวลาในการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ที่จะกำหนดให้สมัครรับเลือกตั้งภายใน 25 วัน หลังมีพระราชกฤษฎีกาประกาศวันเลือกตั้ง ว่า เหตุที่ต้องเชิญ กกต.มาหารือเนื่องจากมีข้อท้วงติงจากฝ่ายการเมืองว่าระยะเวลา 25 วันน้อยเกินไป อาจทำให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครไม่ทัน เพราะการสมัครตามกฎหมายใหม่กำหนดให้การส่งตัวผู้สมัครต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสาขาพรรคและที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง
สำหรับประเด็นนี้ ประธาน กกต.ยืนยันว่า กรอบเวลาที่ให้เหมาะสมแล้ว เพราะหากมองไปถึงกรณีที่มีการยุบสภา รัฐธรรมนูญกำหนดให้ กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน ซึ่งหากขยายเวลาให้พรรคการเมือง อาจทำให้ กกต.เตรียมการเลือกตั้งไม่ทัน ซึ่ง สนช.จะนำข้อมูลไปพิจารณาต่อว่าจะปรับแก้ไขกรอบเวลาหรือไม่
นอกจากนี้ นายสุรชัย กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ว่า จากประสบการณ์การพิจารณาร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับแรก ทำให้เห็นว่าหากรอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างมาแล้วจึงค่อยพิจารณานั้น เวลาอาจไม่เพียงพอ จึงต้องศึกษาล่วงหน้าก่อน ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมาธิการหลังจากที่ประชุม สนช.รับหลักการแล้ว ขณะนี้ยังพิจารณาอยู่
สำหรับประเด็นนี้ ประธาน กกต.ยืนยันว่า กรอบเวลาที่ให้เหมาะสมแล้ว เพราะหากมองไปถึงกรณีที่มีการยุบสภา รัฐธรรมนูญกำหนดให้ กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน ซึ่งหากขยายเวลาให้พรรคการเมือง อาจทำให้ กกต.เตรียมการเลือกตั้งไม่ทัน ซึ่ง สนช.จะนำข้อมูลไปพิจารณาต่อว่าจะปรับแก้ไขกรอบเวลาหรือไม่
นอกจากนี้ นายสุรชัย กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ว่า จากประสบการณ์การพิจารณาร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับแรก ทำให้เห็นว่าหากรอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างมาแล้วจึงค่อยพิจารณานั้น เวลาอาจไม่เพียงพอ จึงต้องศึกษาล่วงหน้าก่อน ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมาธิการหลังจากที่ประชุม สนช.รับหลักการแล้ว ขณะนี้ยังพิจารณาอยู่