พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยพี่น้องประชาชนในภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง ตาก พิจิตร สุโขทัย และกำแพงเพชร รวมทั้งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกบางส่วน ที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนให้ระมัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ในช่วง 1-2 วันนี้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อแนะนำของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง พร้อมทั้งสั่งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หน่วยทหาร ในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เร่งรัดการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติครั้งล่าสุด โดยเฉพาะการตั้งหน่วยงานนโยบายด้านการดูแลทรัพยากรน้ำและอื่นๆ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การเร่งรัดระบบประปาให้ครบทุกหมู่บ้าน ปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายในช่วงน้ำหลาก พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 4 แห่ง คือ บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ กว๊านพะเยา และหนองหาน เป็นต้น
ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีเน้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยทำเป็นชุดข้อมูล ออกเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การกักเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบการระบายน้ำในแต่ละสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลสถานการณ์น้ำ จำแนกเป็นรายภูมิภาคและความเชื่อมโยงในการใช้น้ำร่วมกัน การดำเนินการของรัฐบาลทั้งที่เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แยกเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และมาตรการระยะยาวที่มีความยั่งยืน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขการบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อแนะนำของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง พร้อมทั้งสั่งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หน่วยทหาร ในพื้นที่เสี่ยงภัย เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหาย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เร่งรัดการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติครั้งล่าสุด โดยเฉพาะการตั้งหน่วยงานนโยบายด้านการดูแลทรัพยากรน้ำและอื่นๆ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การเร่งรัดระบบประปาให้ครบทุกหมู่บ้าน ปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายในช่วงน้ำหลาก พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 4 แห่ง คือ บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ กว๊านพะเยา และหนองหาน เป็นต้น
ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีเน้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างการรับรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยทำเป็นชุดข้อมูล ออกเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การกักเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ และระบบการระบายน้ำในแต่ละสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลสถานการณ์น้ำ จำแนกเป็นรายภูมิภาคและความเชื่อมโยงในการใช้น้ำร่วมกัน การดำเนินการของรัฐบาลทั้งที่เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แยกเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และมาตรการระยะยาวที่มีความยั่งยืน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีการแก้ไขการบริหารจัดการน้ำ