สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่า นายอารีฟ ฮาวาส โอโกรเซโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลของอินโดนีเซีย แถลงวานนี้ (5 พ.ค.) ว่า รัฐบาลได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลแขวงจาการ์ตากลาง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพื่อเรียกค่าเสียหายมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 70,000 ล้านบาท จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน ) หรือ ปตท.สผ. และบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราลเอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกในออสเตรเลียของ ปตท. จากกรณีเหตุน้ำมันรั่วไหลในทะเลติมอร์ ทางตอนใต้ของอินโดนีเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2552
ทั้งนี้ น้ำมันหลายพันบาร์เรลรั่วไหลออกจากแท่นขุดเจาะมอนทารา นอกชายฝั่งทางเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเกิดการระเบิดและกระจายเข้าสู่บริเวณทะเลติมอร์ในส่วนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของอินโดนีเซีย ด้วยปริมาณที่อาจมากกว่าวันละ 400 บาร์เรล เป็นเวลาต่อเนื่องนานเกือบ 10 สัปดาห์ สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ระบบนิเวศ โดยแนวปะการังและป่าชายเลนที่อยู่ในบริเวณนั้นล้มตายแทบทั้งหมด แม้พีทีทีอีพี ออสตราลเอเชีย จะดำเนินการทำความสะอาดคราบน้ำมันตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ แต่ต้องใช้เวลานานถึง 74 วัน
นายโอโกรเซโน เปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลจาการ์ตามีแผนอายัดทรัพย์สินของ ปตท.และพีทีทีอีพี ออสตราลเอเชีย ที่มีอยู่ในอินโดนีเซียด้วย และเจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเคยติดต่อเจรจากับบริษัทคู่กรณีทุกแห่งเพื่อหาทางประนีประนอมยอมความกันนอกศาลร่วมกันหลายครั้งแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ ปตท.กลับไม่เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเมื่อช่วงปลายปี 2555 ซึ่งถือเป็นสัญญาณชัดเจนสำหรับอินโดนีเซียแล้วว่า ปตท. ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางด้าน ปตท.ยังสงวนท่าทีต่อการตัดสินใจฟ้องร้องของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ น้ำมันหลายพันบาร์เรลรั่วไหลออกจากแท่นขุดเจาะมอนทารา นอกชายฝั่งทางเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งเกิดการระเบิดและกระจายเข้าสู่บริเวณทะเลติมอร์ในส่วนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของอินโดนีเซีย ด้วยปริมาณที่อาจมากกว่าวันละ 400 บาร์เรล เป็นเวลาต่อเนื่องนานเกือบ 10 สัปดาห์ สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ระบบนิเวศ โดยแนวปะการังและป่าชายเลนที่อยู่ในบริเวณนั้นล้มตายแทบทั้งหมด แม้พีทีทีอีพี ออสตราลเอเชีย จะดำเนินการทำความสะอาดคราบน้ำมันตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุ แต่ต้องใช้เวลานานถึง 74 วัน
นายโอโกรเซโน เปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลจาการ์ตามีแผนอายัดทรัพย์สินของ ปตท.และพีทีทีอีพี ออสตราลเอเชีย ที่มีอยู่ในอินโดนีเซียด้วย และเจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเคยติดต่อเจรจากับบริษัทคู่กรณีทุกแห่งเพื่อหาทางประนีประนอมยอมความกันนอกศาลร่วมกันหลายครั้งแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ ปตท.กลับไม่เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเมื่อช่วงปลายปี 2555 ซึ่งถือเป็นสัญญาณชัดเจนสำหรับอินโดนีเซียแล้วว่า ปตท. ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางด้าน ปตท.ยังสงวนท่าทีต่อการตัดสินใจฟ้องร้องของรัฐบาลอินโดนีเซีย