นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงกรณีกระแสข่าวการจัดอันดับเรือนจำที่โหดร้ายที่สุดในโลก ซึ่งเรือนจำไทย (เรือนจำกลางบางขวาง) ติดอันดับ 10 ว่า การจัดอันดับดังกล่าวเป็นการได้ข้อมูลจากการบอกเล่าปากต่อปากที่มีลักษณะเป็นตำนานมากกว่าข้อเท็จจริง ยกตัวอย่างเช่น เรือนจำ Alcatraz ของสหรัฐอมเริกา ได้ยกเลิการดำเนินงานไปตั้งแต่ปี 2506 แต่ก็ยังนำมาจัดอันดับอยู่ โดยอยู่ในอันดับที่ 7 และคาดว่าหลายเรือนจำในการจัดอันดับนี้ก็ได้มีการยกเลิกการดำเนินงาน หรือปรับปรุงการดำเนินงานไปแล้ว การที่ขนานนามว่าเรือนจำกลางบางขวางเป็น บางกอกฮิลตัน นั้น เป็นกรณีที่เขียนจากคำบอกเล่าของผู้ต้องขังชาวต่างประเทศที่พ้นโทษจากเรือนจำกลางบางขวางไปนานกว่า 15 ปี แล้ว และมีผู้นำไปเขียนเป็นนวนิยาย ซึ่งมีการเสริมแต่งให้เรื่องมีความตื่นเต้นมากไปกว่าข้อเท็จจริง
การใช้เครื่องพันธนาการของกรมราชทัณฑ์เดิมเป็นการใช้ตรวน ต่อมาปี 2555 มีการเปลี่ยนจากตรวนกุญแจมือ กุญแจเท้า และได้เลิกการใช้เครื่องพันธนาการภายในเรือนจำตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันการใช้เครื่องพันธนาการเฉพาะกรณีการนำผู้ต้องขังไปศาลหรือย้ายจากเรือนจำหนึ่งไปอีกเรือนจำหนึ่งเพื่อป้องกันการหลบหนี
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อไปว่า สภาพความเป็นอยู่ที่มีการกล่าวหาว่ามีการทุบตีผู้ต้องขัง เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นในลักษณะนวนิยาย ปราศจากข้อเท็จจริง การดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานสากลตลอดมา จนเมื่อองค์การสหประชาชาติได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Standard Minimum Rules of the Treatments to Prisoners หรือ SMR) เมื่อ พ.ศ. 2500 ประเทศไทยก็สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน และมีการยกระดับมาตรฐานเรื่อยมา จนมีมาตรฐานใหม่ที่ยกระดับการปฏิบัติให้สูงขึ้นคือ Mandela Rules ในปี 2558 ประเทศไทยก็สามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นผู้ริเริ่มให้องค์การสหประชาชาติกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง (Bangkok Rules) ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวหน้าประเทศหนึ่งในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ดังนั้น เรื่องที่กล่าวอ้างในข่าวจึงเป็นเรื่องที่กล่าวอ้างโดยใช้ข้อมูลจากนวนิยายมากกว่าข้อเท็จจริง
การใช้เครื่องพันธนาการของกรมราชทัณฑ์เดิมเป็นการใช้ตรวน ต่อมาปี 2555 มีการเปลี่ยนจากตรวนกุญแจมือ กุญแจเท้า และได้เลิกการใช้เครื่องพันธนาการภายในเรือนจำตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันการใช้เครื่องพันธนาการเฉพาะกรณีการนำผู้ต้องขังไปศาลหรือย้ายจากเรือนจำหนึ่งไปอีกเรือนจำหนึ่งเพื่อป้องกันการหลบหนี
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อไปว่า สภาพความเป็นอยู่ที่มีการกล่าวหาว่ามีการทุบตีผู้ต้องขัง เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นในลักษณะนวนิยาย ปราศจากข้อเท็จจริง การดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานสากลตลอดมา จนเมื่อองค์การสหประชาชาติได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Standard Minimum Rules of the Treatments to Prisoners หรือ SMR) เมื่อ พ.ศ. 2500 ประเทศไทยก็สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน และมีการยกระดับมาตรฐานเรื่อยมา จนมีมาตรฐานใหม่ที่ยกระดับการปฏิบัติให้สูงขึ้นคือ Mandela Rules ในปี 2558 ประเทศไทยก็สามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นผู้ริเริ่มให้องค์การสหประชาชาติกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง (Bangkok Rules) ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวหน้าประเทศหนึ่งในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ดังนั้น เรื่องที่กล่าวอ้างในข่าวจึงเป็นเรื่องที่กล่าวอ้างโดยใช้ข้อมูลจากนวนิยายมากกว่าข้อเท็จจริง