นายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ วสท. แถลงกรณีฐานเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าล้ม:สาเหตุและมาตรการป้องกัน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ว่ากรณีฐานรองรับเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง หล่นทับคนงานเสียชีวิต 3 ราย เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอุปกรณ์ตัวยึดระหว่างคอนกรีตหัวเสากับอุปกรณ์เสาชุดรองรับคานขาด เนื่องจากการเคลื่อนตัวของคานที่ใช้ยกทางวิ่งระบบราง ไม่เข้าตำแหน่งที่กำหนด โดยผู้ปฏิบัติงานได้ขยับโดยการถอยหลัง และเดินหน้าไปมา ด้วยความประมาท จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
นายธเนศ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยขณะปฏิบัติหน้าที่และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนจึงกำหนดมาตรการ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าคือเพิ่มความแข็งแรงของการยึดชุดล้อ เลื่อน คานเหล็ก ขายึดเหล็ก ที่ติดกับเสาตอม่อ ถอยหลังได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ20 ของน้ำหนักโครงเหล็ก 36 ตัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ3 ของน้ำหนักโครงเหล็กรวมกับน้ำหนักชิ้นส่วนคานคอนกรีต 129 ตัน ติดตั้งลิมิตสวิทซ์ เพื่อจำกัดแรงดัน ควบคุมการเดินหน้า ถอยหลัง หากเกิดเหตุขัดข้อง ขณะปฏิบัติหน้าที่ต้องหยุดทันที และแจ้งวิศวกรควบคุม หรือหัวหน้าโครงการ พร้อมติดตั้งวัสดุทึบ ที่ไม่ใช่สแลน ป้องกันวัสดุตกจากที่สูง ทั้งนี้ทุกโครงการที่ดำเนินงานก่อสร้างต้องมีวิศวกร หรือช่างเทคนิค ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอนอย่างเข้มงวดตามหลักวิชาชีพวิศรกร
ด้านนายกำพล บุญชม ผู้อำนวยการโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ตรวจงานทุกสัปดาห์อย่างเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยลงพื้นที่ทุก 3เดือน เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากความไม่ระมัดระวัง ขณะปฏิบัติงาน ได้แจ้งไปยังบริษัทอิตาเลียนไทย และผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นมากกว่านี้ หลังจากนี้ ร.ฟ.ท.พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอย่างเข้มงวด พร้อมเอาผิดหากพบโครงการใดละเลย ประมาท ไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย
นายธเนศ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยขณะปฏิบัติหน้าที่และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนจึงกำหนดมาตรการ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าคือเพิ่มความแข็งแรงของการยึดชุดล้อ เลื่อน คานเหล็ก ขายึดเหล็ก ที่ติดกับเสาตอม่อ ถอยหลังได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ20 ของน้ำหนักโครงเหล็ก 36 ตัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ3 ของน้ำหนักโครงเหล็กรวมกับน้ำหนักชิ้นส่วนคานคอนกรีต 129 ตัน ติดตั้งลิมิตสวิทซ์ เพื่อจำกัดแรงดัน ควบคุมการเดินหน้า ถอยหลัง หากเกิดเหตุขัดข้อง ขณะปฏิบัติหน้าที่ต้องหยุดทันที และแจ้งวิศวกรควบคุม หรือหัวหน้าโครงการ พร้อมติดตั้งวัสดุทึบ ที่ไม่ใช่สแลน ป้องกันวัสดุตกจากที่สูง ทั้งนี้ทุกโครงการที่ดำเนินงานก่อสร้างต้องมีวิศวกร หรือช่างเทคนิค ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอนอย่างเข้มงวดตามหลักวิชาชีพวิศรกร
ด้านนายกำพล บุญชม ผู้อำนวยการโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ตรวจงานทุกสัปดาห์อย่างเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยลงพื้นที่ทุก 3เดือน เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากความไม่ระมัดระวัง ขณะปฏิบัติงาน ได้แจ้งไปยังบริษัทอิตาเลียนไทย และผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นมากกว่านี้ หลังจากนี้ ร.ฟ.ท.พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอย่างเข้มงวด พร้อมเอาผิดหากพบโครงการใดละเลย ประมาท ไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัย