นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวเปิดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่เพิ่มอำนาจให้ศาล และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น ได้แก่ การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญสามารถวินิจฉัยข้อสงสัยที่หน่วยงานยื่นต่อศาลได้ โดยไม่ต้องเกิดข้อพิพาษระหว่างหน่วยงานก่อนเหมือนอดีต ห้ามตุลาการงดออกเสียงในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ที่ตุลาการท่านนั้นไม่เห็นด้วยว่าควรรับเรื่อง เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาวินิจฉัยในทุกประเด็น ตามมาตรา 82-88 ประชาชนสามารถยื่นฟ้องภาครัฐผ่านศาลรัฐธรรมนูญได้ ตามมาตรา 47 หากภาครัฐละเมิดหรือละเว้นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำหนดคุ้มครองไว้ เช่น การให้การศึกษา หรือ การให้การบริการสาธารณสุข เป็นต้น ต่างจากอดีตที่ประชาชนจะยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้ในกรณีที่นโยบาย หรือกฎหมายที่ออกมาขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ส่วนวิธีพิจารณาทาง กรธ. มีกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ใช้ระบบไต่สวน คือให้ศาลมีอำนาจในการสืบพยาน และควบคุมการไต่สวนด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้การแพ้ชนะของคดีความ ไม่เกี่ยวกับความสามารถของทนายความในการเขียนคำร้อง และยื่นหลักฐาน ขณะเดียวกันยังให้อำนาจศาลวินิจฉัยนอกประเด็น และพิพากษาเกินคำขอของผู้ร้องได้ หากเห็นสมควร และให้เป็นบรรทัดฐานขององค์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
ส่วนวิธีพิจารณาทาง กรธ. มีกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ ใช้ระบบไต่สวน คือให้ศาลมีอำนาจในการสืบพยาน และควบคุมการไต่สวนด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้การแพ้ชนะของคดีความ ไม่เกี่ยวกับความสามารถของทนายความในการเขียนคำร้อง และยื่นหลักฐาน ขณะเดียวกันยังให้อำนาจศาลวินิจฉัยนอกประเด็น และพิพากษาเกินคำขอของผู้ร้องได้ หากเห็นสมควร และให้เป็นบรรทัดฐานขององค์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป