นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ครั้งที่ 95 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความเป็นห่วงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า ที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกับมีรายได้ในระดับต่ำ จนอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการดูแลและภาระงบประมาณของภาครัฐได้
ทั้งนี้ ธนาคารโลกไม่ได้มีข้อเสนอเข้ามา แต่เมื่อรัฐบาลได้รับความเห็นจากธนาคารโลก ก็พร้อมที่จะดำเนินการจริงจัง ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กลับมีรายได้ไม่สูงเหมือนกับกรณีประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งแล้ว แต่รายได้ของประชากรของเขาค่อนข้างเยอะกว่าไทยมาก รวมถึงประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเชีย ก็ค่อนข้างได้เปรียบ เพราะแม้จะประสบปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในช่วง 10 ปีเหมือนกับไทย แต่ประเทศเหล่านี้ได้มีการเตรียมพร้อมให้ประชาชนมีรายได้ ทำให้ไม่มีปัญหาเหมือนอย่างไทย และยอมรับว่าในจุดนี้ไทยยังเสียเปรียบอยู่
นอกจากนี้ ในการหารือกับเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟ เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงฟื้นตัวดีขึ้น แต่มีข้อสังเกตว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกเพราะในความจริงน่าจะถึงช่วงที่ปรับขึ้นได้แล้ว ดังนั้น จึงเป็นแรงกดดันอยู่พอสมควร เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนนโยบายเศรษฐกิจ และขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโลกต้องชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ธนาคารโลกไม่ได้มีข้อเสนอเข้ามา แต่เมื่อรัฐบาลได้รับความเห็นจากธนาคารโลก ก็พร้อมที่จะดำเนินการจริงจัง ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กลับมีรายได้ไม่สูงเหมือนกับกรณีประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งแล้ว แต่รายได้ของประชากรของเขาค่อนข้างเยอะกว่าไทยมาก รวมถึงประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเชีย ก็ค่อนข้างได้เปรียบ เพราะแม้จะประสบปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในช่วง 10 ปีเหมือนกับไทย แต่ประเทศเหล่านี้ได้มีการเตรียมพร้อมให้ประชาชนมีรายได้ ทำให้ไม่มีปัญหาเหมือนอย่างไทย และยอมรับว่าในจุดนี้ไทยยังเสียเปรียบอยู่
นอกจากนี้ ในการหารือกับเวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟ เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงฟื้นตัวดีขึ้น แต่มีข้อสังเกตว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกเพราะในความจริงน่าจะถึงช่วงที่ปรับขึ้นได้แล้ว ดังนั้น จึงเป็นแรงกดดันอยู่พอสมควร เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนนโยบายเศรษฐกิจ และขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโลกต้องชะลอตัวลง