พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้า โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน รองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วยการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศ วงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ หรืออาเซียนดิจิทัลฮับ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ที่ให้ กสท. ไปดำเนินการ ซึ่งทั้งสองกิจกรรมมีความคืบหน้าตามแผนที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแนวคิดการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ ดิจิทัลพาร์คไทยแลนด์ เพื่อสนองตอบการขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล 2 นโยบาย ได้แก่ ไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล โดยดำเนินการบนพพื้นที่ 700 ไร่ ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจในโครงการนี้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้เห็นชอบโครงการดิจิทัลชุมชน หรือ ดิจิทัลคอมมูนิตี เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ โดยมอบหมายให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่มีเครือข่ายกว่า 5,000 แห่ง รวมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 24,700 หมู่บ้าน เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ผ่านระบบการซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังผู้ซื้อ หรือ อี-ลอจิสติกส์ รวมถึงระบบการชำระเงิน หรือ อี-เพย์เมนต์ ทั้งชำระด้วยเงินสด และออนไลน์หรือเก็บเงินปลายทาง โดยจะมีการฝึกอบรมให้กับชาวบ้านและร้านค้าชุมชน ตามมา
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแนวคิดการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ ดิจิทัลพาร์คไทยแลนด์ เพื่อสนองตอบการขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล 2 นโยบาย ได้แก่ ไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัล โดยดำเนินการบนพพื้นที่ 700 ไร่ ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจในโครงการนี้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้เห็นชอบโครงการดิจิทัลชุมชน หรือ ดิจิทัลคอมมูนิตี เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ โดยมอบหมายให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่มีเครือข่ายกว่า 5,000 แห่ง รวมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 24,700 หมู่บ้าน เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ผ่านระบบการซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังผู้ซื้อ หรือ อี-ลอจิสติกส์ รวมถึงระบบการชำระเงิน หรือ อี-เพย์เมนต์ ทั้งชำระด้วยเงินสด และออนไลน์หรือเก็บเงินปลายทาง โดยจะมีการฝึกอบรมให้กับชาวบ้านและร้านค้าชุมชน ตามมา