นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงสถิติการร้องเรียนปัญหาการทุจริตของประชาชนผ่าน ป.ป.ท. ว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตของประชาชนที่ส่งมายัง ป.ป.ท. เฉลี่ยปีละ 2,000 - 3,000 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการจัดซื้อจัดจ้าง เจ้าหน้าที่ปล่อยปะละเลยการทำหน้าที่ และเรื่องการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย
สำหรับทุกเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนมา ป.ป.ท.ได้รับมาทำ 2 ลักษณะ คือ หากเป็นเรื่องที่ส่วนราชการสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน และส่อทุจริต ป.ป.ท.จะทำเรื่องแจ้งไปยังส่วนราชการ เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน แต่หากเป็นความผิดทางอาญา ก็ต้องส่งเรื่องให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ถือว่าในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการปราบปรามทุจริตมีความร่วมมือกันมากขึ้นและเป็นรูปธรรมชัดเจน ถือเป็นผลสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ที่ทุกคนมุ่งมั่นแก้ปัญหาของชาติ
นอกจากนี้ ป.ป.ท. ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านทุจริตต่างๆ โดยเป็นการขับเคลื่อนเชิงระบบ ส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เช่น คดีสินบนข้ามชาติของบริษัท โรลส์-รอยซ์ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตั้งกลไกขับเคลื่อน 3 ระดับ คือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติระดับชาติ และศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกระทรวง (ศปท.) ที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติระดับกระทรวง ซึ่งเชื่อว่าเมื่อกลไกขับเคลื่อนทั้ง 3 ระดับนี้เดินหน้าไปพร้อมกัน จะทำให้สถานการณ์การทุจริตเกิดยากขึ้นในอนาคต
สำหรับแผนการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบการทุจริตหลังจากนี้ ในส่วนของ ป.ป.ท.ไม่ต้องปรับการทำงานใหม่ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและทำให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เหลือก่อนการเลือกตั้ง ต้องรีบทำให้กลไกภาครัฐและส่วนราชการเข้มแข็งให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและอุดช่องการทุจริตที่อาจเกิดได้ในอนาคต
สำหรับทุกเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนมา ป.ป.ท.ได้รับมาทำ 2 ลักษณะ คือ หากเป็นเรื่องที่ส่วนราชการสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน และส่อทุจริต ป.ป.ท.จะทำเรื่องแจ้งไปยังส่วนราชการ เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน แต่หากเป็นความผิดทางอาญา ก็ต้องส่งเรื่องให้ดำเนินการตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ถือว่าในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการปราบปรามทุจริตมีความร่วมมือกันมากขึ้นและเป็นรูปธรรมชัดเจน ถือเป็นผลสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ที่ทุกคนมุ่งมั่นแก้ปัญหาของชาติ
นอกจากนี้ ป.ป.ท. ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านทุจริตต่างๆ โดยเป็นการขับเคลื่อนเชิงระบบ ส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เช่น คดีสินบนข้ามชาติของบริษัท โรลส์-รอยซ์ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตั้งกลไกขับเคลื่อน 3 ระดับ คือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติระดับชาติ และศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกระทรวง (ศปท.) ที่ขับเคลื่อนการปฏิบัติระดับกระทรวง ซึ่งเชื่อว่าเมื่อกลไกขับเคลื่อนทั้ง 3 ระดับนี้เดินหน้าไปพร้อมกัน จะทำให้สถานการณ์การทุจริตเกิดยากขึ้นในอนาคต
สำหรับแผนการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบการทุจริตหลังจากนี้ ในส่วนของ ป.ป.ท.ไม่ต้องปรับการทำงานใหม่ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและทำให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เหลือก่อนการเลือกตั้ง ต้องรีบทำให้กลไกภาครัฐและส่วนราชการเข้มแข็งให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและอุดช่องการทุจริตที่อาจเกิดได้ในอนาคต