พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (11 เม.ย.) กรรมาธิการฯ สื่อสารมวลชน จะประชุมเพื่อสรุปร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ... พร้อมกับทบทวนรายละเอียดในบางประเด็น
สำหรับประเด็นที่ กมธ.วิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.) ท้วงติงให้ปรับแก้ไขประเด็นต่างๆ มีข้อสรุป คือ 1. ให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ เพื่อเป็นองค์กรกลางของสื่อมวลชนที่ตรวจสอบการทำงานและประเด็นจริยธรรม 2. กรรมการของสภาวิชาชีพฯ ได้ปรับรายละเอียดให้มีตัวแทนจากภาครัฐ จำนวน 2 คน คือ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จากเดิมที่มีตัวแทนภาครัฐ 4 คน ขณะที่ตำแหน่งอื่นๆ ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิกสภาวิชาชีพ จำนวน 7 คน ผู้แทนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมการอื่นอีกจำนวน 4 คน และ 3. การออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ยืนยันว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้สื่อข่าวต้องมีใบอนุญาต แต่รายละเอียดรวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตนั้น จะให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนด
ขณะที่บทเฉพาะกาลเรื่องนี้เขียนให้ สื่อมวลชนทุกคนต้องมีใบอนุญาต แต่หากใครไม่มีแล้วมาทำหน้าที่สื่อมวลชน อาจมีโทษได้ คือ จำคุก 2 ปี ปรับ 6 หมื่นบาท ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีแรกที่อยู่ระหว่างจัดตั้งสภาวิชาชีพฯ ได้ให้ความคุ้มครองสื่อมวลชนในปัจจุบันให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตโดยอนุโลม แต่ต้นสังกัดต้องออกใบรับรอง และหลังจากที่จัดตั้งสภาฯ แล้ว ภายใน 2 ปี สื่อมวลชนทุกคนทั้งเก่า และใหม่ต้องเข้ารับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ซึ่งมีจะมีกระบวนการสอบ รวมถึงเข้ารับการอบรม
สำหรับประเด็นที่ กมธ.วิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.) ท้วงติงให้ปรับแก้ไขประเด็นต่างๆ มีข้อสรุป คือ 1. ให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ เพื่อเป็นองค์กรกลางของสื่อมวลชนที่ตรวจสอบการทำงานและประเด็นจริยธรรม 2. กรรมการของสภาวิชาชีพฯ ได้ปรับรายละเอียดให้มีตัวแทนจากภาครัฐ จำนวน 2 คน คือ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จากเดิมที่มีตัวแทนภาครัฐ 4 คน ขณะที่ตำแหน่งอื่นๆ ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิกสภาวิชาชีพ จำนวน 7 คน ผู้แทนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมการอื่นอีกจำนวน 4 คน และ 3. การออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ยืนยันว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้สื่อข่าวต้องมีใบอนุญาต แต่รายละเอียดรวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตนั้น จะให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนด
ขณะที่บทเฉพาะกาลเรื่องนี้เขียนให้ สื่อมวลชนทุกคนต้องมีใบอนุญาต แต่หากใครไม่มีแล้วมาทำหน้าที่สื่อมวลชน อาจมีโทษได้ คือ จำคุก 2 ปี ปรับ 6 หมื่นบาท ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีแรกที่อยู่ระหว่างจัดตั้งสภาวิชาชีพฯ ได้ให้ความคุ้มครองสื่อมวลชนในปัจจุบันให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตโดยอนุโลม แต่ต้นสังกัดต้องออกใบรับรอง และหลังจากที่จัดตั้งสภาฯ แล้ว ภายใน 2 ปี สื่อมวลชนทุกคนทั้งเก่า และใหม่ต้องเข้ารับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ซึ่งมีจะมีกระบวนการสอบ รวมถึงเข้ารับการอบรม