นายสมชาย แสงรัตนมณีเดช รองอธิบดีกรมสรรพากร รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการลงโทษผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอของ Financial Action Task Force (FATF) โดยมีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จ เป็นการกระทำความผิดร้ายแรง และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2560 เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือ เพื่อต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิค (Asia Pacific Group on Money Laundering : APG) มีความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ FATF ในการกำหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ และมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร คือกรณีหลีกเลี่ยงภาษีอากร ฉ้อโกงภาษีอากร เป็นจำนวนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือขอคืนภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป กระทำในลักษณะกระบวนการ หรือเป็นเครือข่าย โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดรายได้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ เมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งกรมสรรพากรจะส่งข้อมูลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดได้จากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่ง หรือศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร RD call Center โทร. 1161
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ และมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร คือกรณีหลีกเลี่ยงภาษีอากร ฉ้อโกงภาษีอากร เป็นจำนวนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือขอคืนภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป กระทำในลักษณะกระบวนการ หรือเป็นเครือข่าย โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดรายได้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ เมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งกรมสรรพากรจะส่งข้อมูลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดได้จากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่ง หรือศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร RD call Center โทร. 1161