นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งชาติ (ภตช.) ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านนายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักการข่าวและกิจการพิเศษสำนักงาน ป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบและเร่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด โครงการ Safe Zone School ใน 12 เขตพื้นที่การศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 405 ล้านบาท
เลขาธิการ ภตช.เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ามีบริษัทเข้าร่วมประมูลโครงการทั้ง 12 เขตพื้นที่การศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 4 บริษัท และส่อเค้าฮั้วประมูลให้ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวทั้ง 4 บริษัท โดยเฉลี่ยกันไปทั้ง 12 เขต โดยทั้ง 4 บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทเดียวกันในการติดตั้งกล้องวงจรปิด นอกจากนี้ ยังพบว่า 12 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่มีห้องควบคุมและระบบสัญญาณเตือนภัย รวมทั้ง ระบบจดจำใบหน้าคนร้าย ก็ไม่สามารถแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ได้ จึงขอเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งอนุกรรมการไต่สวนในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง และตั้งอนุกรรมการไต่สวนการตรวจรับ เพื่อเอาผิดกับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับซี 8 - 11 และเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ทหารที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ แต่ไม่ติดตาม หรือไม่ปกป้องงบประมาณไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ ขอให้เอาผิดบริษัทเอกชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และขอให้ตั้งอนุไต่สวนกรณีตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจรับงาน ผู้อำนวยการเขตที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับงานต่างๆ เพราะเท่ากับว่าเป็นการร่วมกันฉ้อโกงรัฐ โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โครงการดังกล่าวต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับครูและนักเรียน แต่ทุกวันยังต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (อีโอดี) ประจำอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ เพราะกล้องวงจรปิดไม่สามารถใช้งานได้
ทั้งนี้ อยากให้ ป.ป.ช. อายัดทรัพย์สินของทั้ง 4 บริษัท และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน เพื่อไม่ให้มีการถ่ายโอนเงินออกนอกประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรโยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ไปก่อน เพื่อเปิดทางให้มีการตรวจสอบ
เลขาธิการ ภตช.เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ามีบริษัทเข้าร่วมประมูลโครงการทั้ง 12 เขตพื้นที่การศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 4 บริษัท และส่อเค้าฮั้วประมูลให้ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวทั้ง 4 บริษัท โดยเฉลี่ยกันไปทั้ง 12 เขต โดยทั้ง 4 บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทเดียวกันในการติดตั้งกล้องวงจรปิด นอกจากนี้ ยังพบว่า 12 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่มีห้องควบคุมและระบบสัญญาณเตือนภัย รวมทั้ง ระบบจดจำใบหน้าคนร้าย ก็ไม่สามารถแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ได้ จึงขอเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งอนุกรรมการไต่สวนในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง และตั้งอนุกรรมการไต่สวนการตรวจรับ เพื่อเอาผิดกับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระดับซี 8 - 11 และเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ทหารที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ แต่ไม่ติดตาม หรือไม่ปกป้องงบประมาณไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ ขอให้เอาผิดบริษัทเอกชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และขอให้ตั้งอนุไต่สวนกรณีตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจรับงาน ผู้อำนวยการเขตที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับงานต่างๆ เพราะเท่ากับว่าเป็นการร่วมกันฉ้อโกงรัฐ โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โครงการดังกล่าวต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับครูและนักเรียน แต่ทุกวันยังต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (อีโอดี) ประจำอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ เพราะกล้องวงจรปิดไม่สามารถใช้งานได้
ทั้งนี้ อยากให้ ป.ป.ช. อายัดทรัพย์สินของทั้ง 4 บริษัท และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน เพื่อไม่ให้มีการถ่ายโอนเงินออกนอกประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรโยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ไปก่อน เพื่อเปิดทางให้มีการตรวจสอบ