นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นละอองที่เป็นมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพื้นที่การเกษตร กรมฝนหลวงและการบินเกษตรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้เร่งดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งปัญหาหมอกควันใน 9 จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ตาก พะเยา และแม่ฮ่องสอน
นายสุรสีห์ กล่าวต่อว่า จากการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งหมอกควันตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ประสบปัญหา โดยใช้เทคนิค Inversion Layer และการประสานการทำงาน 2 หน่วยปฏิบัติการ ทั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้อากาศยานชนิด CASA จำนวน 2 ลำ ซึ่งผลจากการปฏิบัติการพบว่า สามารถยับยั้งปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัด รวมพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือได้ โดยมีค่ามาตรฐานฝุ่นละอองในอากาศ หรือ PM10 ในปัจจุบัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 อยู่ที่ 37-89 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ ดี ถึง ปานกลาง ลดลงจากระดับที่มีผลต่อสุขภาพประชาชนที่ 121-350 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถือได้ว่าการปฏิบัติการฝนหลวงในภารกิจยับยั้งหมอกควันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยภาพรวมของการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม - 30 มีนาคม 2560 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 24 วัน จำนวน 427 เที่ยวบิน (638:10 ชั่วโมงบิน) ปริมาณการใช้สาร ฝนหลวง 352.70 ตัน พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 444 นัด จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 44 จังหวัด และมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมรวม 71.61 ล้านลูกบาศก์เมตร
นายสุรสีห์ กล่าวต่อว่า จากการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งหมอกควันตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ประสบปัญหา โดยใช้เทคนิค Inversion Layer และการประสานการทำงาน 2 หน่วยปฏิบัติการ ทั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้อากาศยานชนิด CASA จำนวน 2 ลำ ซึ่งผลจากการปฏิบัติการพบว่า สามารถยับยั้งปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัด รวมพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือได้ โดยมีค่ามาตรฐานฝุ่นละอองในอากาศ หรือ PM10 ในปัจจุบัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 อยู่ที่ 37-89 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ ดี ถึง ปานกลาง ลดลงจากระดับที่มีผลต่อสุขภาพประชาชนที่ 121-350 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถือได้ว่าการปฏิบัติการฝนหลวงในภารกิจยับยั้งหมอกควันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยภาพรวมของการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม - 30 มีนาคม 2560 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 24 วัน จำนวน 427 เที่ยวบิน (638:10 ชั่วโมงบิน) ปริมาณการใช้สาร ฝนหลวง 352.70 ตัน พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 444 นัด จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 44 จังหวัด และมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมรวม 71.61 ล้านลูกบาศก์เมตร