นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานเสวนา "พ.ร.บ.ปิโตรเลียมสะดุด ฉุดประเทศไทยเสียโอกาส" ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยระบุว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่า การประมูลสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะแล้วเสร็จทันปลายปีนี้ เพราะกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐถูกกดดันจากกลุ่มผู้เห็นต่าง ซึ่งหากยิ่งล่าช้าในการตัดสินใจ ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งปิโตรฯ ทั้ง 2 แห่ง ทั้งแหล่งบงกชและแหล่งเอราวัณ ซึ่งจะหมดอายุลงประมาณปี 2565 – 2566 ส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติที่จะผลิตไฟฟ้าหายไปร้อยละ 30-40 ต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เข้ามาผลิตแทน ซึ่งราคาสูงก๊าซธรรมชาติแบบเดิม 2 เท่า สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟ ประชาชน ภาคเอกชนได้รับผลกระทบอยู่ดี
ทั้งนี้ ต้องการเสนอแนะให้รัฐบาลใช้มาตรา 44 บังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ฉบับเดิมไปก่อน ซึ่งดีอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นกิจการพลังงานคงไม่รุ่งเรืองขนาดนี้ หรือหากจะใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ก็ให้บังคับใช้มาตรา 44 เข้มข้นมากขึ้น เพราะต้องพิจารณาในรายละเอียดของ พ.ร.บ.ปิโตรฯ โดยมองว่า หากผู้รับสัมปทานรายเดิมชนะการประมูล ก็จะทำให้กำลังการผลิตก๊าซเกิดความต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ทุกอย่างมีความล่าช้ามาก หากเปิดให้ลงทุนก่อนหน้านี้ อาจมีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ และต้องใช้เวลานานในการเริ่มต้นใหม่
ทั้งนี้ ต้องการเสนอแนะให้รัฐบาลใช้มาตรา 44 บังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ฉบับเดิมไปก่อน ซึ่งดีอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นกิจการพลังงานคงไม่รุ่งเรืองขนาดนี้ หรือหากจะใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ก็ให้บังคับใช้มาตรา 44 เข้มข้นมากขึ้น เพราะต้องพิจารณาในรายละเอียดของ พ.ร.บ.ปิโตรฯ โดยมองว่า หากผู้รับสัมปทานรายเดิมชนะการประมูล ก็จะทำให้กำลังการผลิตก๊าซเกิดความต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ทุกอย่างมีความล่าช้ามาก หากเปิดให้ลงทุนก่อนหน้านี้ อาจมีนักลงทุนหลายรายให้ความสนใจ และต้องใช้เวลานานในการเริ่มต้นใหม่