นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดโครงการปลูกเสริมป่าและสร้างฝายผสมผสานในพื้นที่ราษฎรเข้าทำประโยชน์ ก่อนปี พ.ศ. 2545 และตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่ป่าต้นน้ำดอยงอมถ้ำ ต.ท่าแฝก อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ โดยมีนายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11(พิษณุโลก) นายปรีชา สุทนต์ นายอำเภอน้ำปาด พร้อมด้วย นายเชวง ไชยหลาก ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่และประชาชนเข้าร่วม
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า พื้นที่อนุรักษ์แบบบูรณาการอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ได้นำเสนอพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยงอมถ้ำ มาดำเนินโครงการปลูกเสริมป่าและการสร้างฝายผสมผสานฯ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าแบบ "รัฐได้ป่า ประชาได้อาหาร" โดยเป็นพื้นที่ที่ได้รับการผ่อนผันเข้าทำประโยชน์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 มิถุนายน 2541 จำนวน 1,409 ไร่ และพื้นที่ที่รับคืนจากราษฎรที่เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าอนุรักษ์ หลังปี 2545 ตามคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 จำนวน 616 ไร่ โดย ดำเนินการปลูกต้นไม้ เช่น ไผ่ซางนวล, หวาย, ยางนา รวมจำนวน 40,000 ต้น
โครงการปลูกเสริมป่าและสร้างฝายผสมผสานฯ ครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการจัดการป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันของรัฐบาล ที่ได้มีแนวทางการจัดการป่าเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน การควบคุมดูแลพื้นที่ การดูแลคนและการพัฒนาด้านการเกษตร ตั้งเป้าหมายฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันไม่น้อยกว่า 8.6 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 20 ปี
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า พื้นที่อนุรักษ์แบบบูรณาการอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ได้นำเสนอพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยงอมถ้ำ มาดำเนินโครงการปลูกเสริมป่าและการสร้างฝายผสมผสานฯ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าแบบ "รัฐได้ป่า ประชาได้อาหาร" โดยเป็นพื้นที่ที่ได้รับการผ่อนผันเข้าทำประโยชน์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 30 มิถุนายน 2541 จำนวน 1,409 ไร่ และพื้นที่ที่รับคืนจากราษฎรที่เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าอนุรักษ์ หลังปี 2545 ตามคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 จำนวน 616 ไร่ โดย ดำเนินการปลูกต้นไม้ เช่น ไผ่ซางนวล, หวาย, ยางนา รวมจำนวน 40,000 ต้น
โครงการปลูกเสริมป่าและสร้างฝายผสมผสานฯ ครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการจัดการป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันของรัฐบาล ที่ได้มีแนวทางการจัดการป่าเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน การควบคุมดูแลพื้นที่ การดูแลคนและการพัฒนาด้านการเกษตร ตั้งเป้าหมายฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันไม่น้อยกว่า 8.6 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 20 ปี