คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ลงนามในหนังสือเพื่อส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้พิจารณาโทษทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 4 นาย หลังคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียงชี้มูลความผิด พล.ต.ท.ประชิน วารี รองจเรตำรวจ (สบ 9) กับพวก รวม 13 คน ว่า ร่วมกันทุจริตในการจัดซื้อรถจักรยานยนต์สายตรวจ รุ่นไทเกอร์ พร้อมอุปกรณ์ (ทดแทน) จำนวน 19,147 คัน ตามฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีความเห็นว่า การกระทำของ พล.ต.ท.ประชิน พล.ต.ต.สมพงษ์ น้าเจริญ และ พล.ต.ต.อิทธิพล พิริยะภิญโญ มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี จรรยาบรรณของตำรวจ และนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อราชการอย่างร้ายแรง รวมทั้งฐานความผิดประมาทเลินเล่อในราชการ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงตามพ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547
นอกจากนี้ จากการไต่สวนยังพบว่า พล.ต.ต.สัจจะ คชหิรัญ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547 และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว หรือการกระทำใดๆ โดยมุ่งมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาหรือมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนได้ พิจารณาลงโทษภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช. รวมทั้งส่งสำเนาการลงโทษกลับมาให้ ป.ป.ช.ภายใน 50 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง ส่วนความผิดทางอาญาให้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการแก่บุคคลดังกล่าว
ด้าน พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อช่วงที่ผ่านมา และส่งเรื่องไปต้นสังกัดคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แล้ว เพื่อให้ดำเนินการทางวินัย และส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้ดำเนินคดีอาญา โดยผู้กระทำความผิดทั้งหมดอยู่ในคณะกรรมการจัดซื้อและคณะกรรมการประกวดราคา ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ ซึ่งหากผิดวินัยร้ายแรงมีโทษถึงขั้นไล่ออก ปลดออก แล้วแต่รายละเอียดของแต่ละคน เป็นหน้าที่ของ สตช.ที่จะพิจารณา
ขณะที่นายปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งทั้งที่ได้ชี้มูลความผิดไปแล้วเมื่อปี 2557 เนื่องจากมีผู้ถูกกล่าวหา 2-3 ราย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามา ดังนั้น จึงไปพิจารณาอีกครั้งในประเด็นของความเสียหายที่เกิดขึ้นในคดี แต่เมื่อไต่สวนแล้วนำกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาอีกครั้ง ก็ยังมีมติยืนคำชี้มูลความผิดตามมติเดิม จึงได้ส่งเรื่องไปที่ สตช. เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยและอาญาต่อไป
นอกจากนี้ จากการไต่สวนยังพบว่า พล.ต.ต.สัจจะ คชหิรัญ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547 และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว หรือการกระทำใดๆ โดยมุ่งมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาหรือมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนได้ พิจารณาลงโทษภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช. รวมทั้งส่งสำเนาการลงโทษกลับมาให้ ป.ป.ช.ภายใน 50 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง ส่วนความผิดทางอาญาให้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการแก่บุคคลดังกล่าว
ด้าน พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อช่วงที่ผ่านมา และส่งเรื่องไปต้นสังกัดคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แล้ว เพื่อให้ดำเนินการทางวินัย และส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้ดำเนินคดีอาญา โดยผู้กระทำความผิดทั้งหมดอยู่ในคณะกรรมการจัดซื้อและคณะกรรมการประกวดราคา ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ ซึ่งหากผิดวินัยร้ายแรงมีโทษถึงขั้นไล่ออก ปลดออก แล้วแต่รายละเอียดของแต่ละคน เป็นหน้าที่ของ สตช.ที่จะพิจารณา
ขณะที่นายปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งทั้งที่ได้ชี้มูลความผิดไปแล้วเมื่อปี 2557 เนื่องจากมีผู้ถูกกล่าวหา 2-3 ราย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เข้ามา ดังนั้น จึงไปพิจารณาอีกครั้งในประเด็นของความเสียหายที่เกิดขึ้นในคดี แต่เมื่อไต่สวนแล้วนำกลับมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาอีกครั้ง ก็ยังมีมติยืนคำชี้มูลความผิดตามมติเดิม จึงได้ส่งเรื่องไปที่ สตช. เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยและอาญาต่อไป