นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรียกร้องให้กรมสรรพากรดำเนินการเรียกเก็ยภาษีจากนักการเมือง ทั้งในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับการดำเนินการกรณีเรียกเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป จากนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งการดำเนินการโดยใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับทุกคน เป็นสิ่งที่กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ประชาชนรู้สึกและเข้าใจไปว่าทางการใช้กลไกภาษีมากลั่นแกล้งเล่นงานคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะมีความพยายามที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริงกันอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้ อยากให้กรมสรรพากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบแจกแจงกับสังคมว่า เบื้องต้นนักการเมืองกว่า 60 คน ที่เข้าข่ายต้องจ่ายภาษีคล้ายๆ กรณีหุ้นชินคอร์ปฯ นั้นมีใครบ้าง ควรอธิบายกับสังคม ไม่ใช่ปล่อยอึมครึมหรือตีความกันไป ซึ่งอาจทำให้มองได้ว่าเป็นแค่การขู่หรือปรามนักการเมืองให้เข้าสู่กระบวนการปรองดองเท่านั้น เพราะอาจโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เสียเอง และเชื่อว่าการดำเนินการตรงไปตรงมาของกรมสรรพากรจะไม่กระทบกับกระบวนการสร้างความปรองดอง เพราะใช้บรรทัดฐานเดียวกัน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ หากไม่ทำหรือเลือกทำเป็นบางกรณีต่างหากที่ทำลายหลักการปรองดอง ซึ่งกระบวนการปรองดองจะต้องทำให้คนทุกกลุ่มอยู่ในระบบกฎหมายเดียวกัน
ทั้งนี้ อยากให้กรมสรรพากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบแจกแจงกับสังคมว่า เบื้องต้นนักการเมืองกว่า 60 คน ที่เข้าข่ายต้องจ่ายภาษีคล้ายๆ กรณีหุ้นชินคอร์ปฯ นั้นมีใครบ้าง ควรอธิบายกับสังคม ไม่ใช่ปล่อยอึมครึมหรือตีความกันไป ซึ่งอาจทำให้มองได้ว่าเป็นแค่การขู่หรือปรามนักการเมืองให้เข้าสู่กระบวนการปรองดองเท่านั้น เพราะอาจโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เสียเอง และเชื่อว่าการดำเนินการตรงไปตรงมาของกรมสรรพากรจะไม่กระทบกับกระบวนการสร้างความปรองดอง เพราะใช้บรรทัดฐานเดียวกัน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ หากไม่ทำหรือเลือกทำเป็นบางกรณีต่างหากที่ทำลายหลักการปรองดอง ซึ่งกระบวนการปรองดองจะต้องทำให้คนทุกกลุ่มอยู่ในระบบกฎหมายเดียวกัน