วานนี้ (17 มี.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศจำนวน 1,250 คน เรื่อง "ปัญหาพลังงาน พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทนในประเทศไทย"
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหลักของพลังงานในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.60 ระบุว่า คนในชาติไม่ช่วยกันประหยัดพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า โครงสร้างราคาพลังงาน (ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ) มีราคาแพง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต หรือราคาตลาดโลก รวมไปถึงการขึ้นภาษีพลังงาน และการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน ร้อยละ 17.60 ระบุว่า รัฐบาลขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการตรวจสอบความโปร่งใส ร้อยละ 13.92 ระบุว่า เป็นระบบการผูกขาดทางการค้า การแทรกแซงทางการเมืองในธุรกิจพลังงาน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนหรือพวกพ้อง ผ่านทางการสัมปทานแหล่งพลังงาน การแปรรูป ร้อยละ 10.40 ระบุว่า การผลิตพลังงานที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 7.76 ระบุว่า เป็นการคัดค้านของชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการสร้างแหล่งพลังงานใหม่ๆ ร้อยละ 4.24 ระบุว่า เป็นการหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ หรือการใช้พลังงานทางเลือก ร้อยละ 2.72 ระบุว่า กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มีความซ้ำซ้อน ไม่ทันสมัย ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ทุกข้อที่กล่าวมา และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องของพลังงาน
ด้านการสนับสนุนกับการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.84 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 4.56 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานลม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.48 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.60 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานขยะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.08 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 5.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานชีวมวล (เช่น ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล พลังงานจากแกลบ เศษไม้ เศษเหลือจากวัสดุทางการเกษตร) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.64 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานคลื่น/พลังงานน้ำ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.20 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานถ่านหิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.52 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 9.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานนิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.28 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 7.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการฝากบอกถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.88 ระบุว่า ควรเร่งพัฒนา วิจัย จัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 21.97 ระบุว่า ควรกำหนดให้ปัญหาพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ เร่งปฏิรูปปัญหาพลังงาน มีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน เพิ่มการแข่งขันทางการตลาด ลดการผูกขาดด้านพลังงาน มีการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ มีการจัดสรรพลังงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่งเสริมหน่วยงาน ที่กำกับและดูแลด้านพลังงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.64 ระบุว่า พิจารณาต้นทุนและปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงาน เพื่อลดภาระประชาชนและผู้บริโภค ควบคุมการแทรงแซงราคาน้ำมันและพลังงาน
ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ควรมีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน เกี่ยวกับพลังงาน และเน้นรณรงค์ ให้ประชาชนรู้จักการใช้พลังงานอย่างประหยัด ร้อยละ 6.50 ระบุว่า ควรมีการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของกิจการพลังงาน เพื่อป้องการทุจริตคอร์รัปชัน การแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน ลดการแทรกแซงทางการเมือง และร้อยละ 5.83 ระบุว่า ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กรณีการจัดสร้างแหล่งพลังงานหรือโรงไฟฟ้า ผ่านการทำประชาพิจารณ์ พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม และควรมีการเตรียมการรับมือในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาหลักของพลังงานในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.60 ระบุว่า คนในชาติไม่ช่วยกันประหยัดพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า โครงสร้างราคาพลังงาน (ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ) มีราคาแพง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต หรือราคาตลาดโลก รวมไปถึงการขึ้นภาษีพลังงาน และการจัดเก็บกองทุนน้ำมัน ร้อยละ 17.60 ระบุว่า รัฐบาลขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดการตรวจสอบความโปร่งใส ร้อยละ 13.92 ระบุว่า เป็นระบบการผูกขาดทางการค้า การแทรกแซงทางการเมืองในธุรกิจพลังงาน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนหรือพวกพ้อง ผ่านทางการสัมปทานแหล่งพลังงาน การแปรรูป ร้อยละ 10.40 ระบุว่า การผลิตพลังงานที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 7.76 ระบุว่า เป็นการคัดค้านของชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการสร้างแหล่งพลังงานใหม่ๆ ร้อยละ 4.24 ระบุว่า เป็นการหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ หรือการใช้พลังงานทางเลือก ร้อยละ 2.72 ระบุว่า กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มีความซ้ำซ้อน ไม่ทันสมัย ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ทุกข้อที่กล่าวมา และร้อยละ 3.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องของพลังงาน
ด้านการสนับสนุนกับการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.84 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 4.56 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานลม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.48 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.60 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 3.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานขยะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.08 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 5.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานชีวมวล (เช่น ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล พลังงานจากแกลบ เศษไม้ เศษเหลือจากวัสดุทางการเกษตร) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.64 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานคลื่น/พลังงานน้ำ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.20 ระบุว่า สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 18.16 ระบุว่า ไม่สนับสนุน และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานถ่านหิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.52 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 9.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
พลังงานนิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.80 ระบุว่า ไม่สนับสนุน รองลงมา ร้อยละ 13.28 ระบุว่า สนับสนุน และร้อยละ 7.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการฝากบอกถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.88 ระบุว่า ควรเร่งพัฒนา วิจัย จัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน รองลงมา ร้อยละ 21.97 ระบุว่า ควรกำหนดให้ปัญหาพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ เร่งปฏิรูปปัญหาพลังงาน มีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน เพิ่มการแข่งขันทางการตลาด ลดการผูกขาดด้านพลังงาน มีการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ มีการจัดสรรพลังงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่งเสริมหน่วยงาน ที่กำกับและดูแลด้านพลังงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.64 ระบุว่า พิจารณาต้นทุนและปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงาน เพื่อลดภาระประชาชนและผู้บริโภค ควบคุมการแทรงแซงราคาน้ำมันและพลังงาน
ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ควรมีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน เกี่ยวกับพลังงาน และเน้นรณรงค์ ให้ประชาชนรู้จักการใช้พลังงานอย่างประหยัด ร้อยละ 6.50 ระบุว่า ควรมีการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของกิจการพลังงาน เพื่อป้องการทุจริตคอร์รัปชัน การแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน ลดการแทรกแซงทางการเมือง และร้อยละ 5.83 ระบุว่า ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กรณีการจัดสร้างแหล่งพลังงานหรือโรงไฟฟ้า ผ่านการทำประชาพิจารณ์ พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม และควรมีการเตรียมการรับมือในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน