นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทยว่าขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว โดยอุณหภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนต่อเนื่องในตอนกลางวันในเขต กทม. และปริมณฑล คาดว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งผลจากการที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า ในภาวะอากาศร้อนจัดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดอาจส่งผลให้เกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) อย่างฉับพลันได้ อาการเบื้องต้นที่พบคือ อ่อนเพลีย ไม่มีเหงื่อออก หายใจเร็ว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงขอเตือนประชาชนให้ดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อนนี้ โดยพยายามอยู่ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากกลางแดดที่ร้อนจัด ดื่มน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม หรือหากทำงานในที่ร่มควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดีและใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF15ขึ้นไป
สำหรับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นคือ นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้นอนราบ ยกเท้าสูง ทั้งสองข้างเพื่อให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงสมอง และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว ตามข้อพับ และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยทั้ง 68 แห่ง ในพื้นที่ทั่ว กทม. จะจัดหน่วยบริการสุขภาพเชิงรุก เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันภัยจากอากาศร้อนจัดที่มาถึงนี้
นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า ในภาวะอากาศร้อนจัดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดอาจส่งผลให้เกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) อย่างฉับพลันได้ อาการเบื้องต้นที่พบคือ อ่อนเพลีย ไม่มีเหงื่อออก หายใจเร็ว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงขอเตือนประชาชนให้ดูแลสุขภาพในช่วงฤดูร้อนนี้ โดยพยายามอยู่ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากกลางแดดที่ร้อนจัด ดื่มน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม หรือหากทำงานในที่ร่มควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดีและใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF15ขึ้นไป
สำหรับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นคือ นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้นอนราบ ยกเท้าสูง ทั้งสองข้างเพื่อให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงสมอง และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว ตามข้อพับ และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยทั้ง 68 แห่ง ในพื้นที่ทั่ว กทม. จะจัดหน่วยบริการสุขภาพเชิงรุก เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันภัยจากอากาศร้อนจัดที่มาถึงนี้