ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และประธานกรรมการมูลนิธิยุวสถิรคุณ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชนในการปฏิรูปประเทศและวงการศึกษาไทยและวิทยาลัยชุมชนคุณธรรม ในงานอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ โดยเน้นคุณธรรมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคน เพื่อสร้างคนดีและมีความรู้สู่สังคมในอนาคต ซึ่งจัดโดยสถาบันวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ว่า ในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ที่ผ่านมาประเทศไทยกลายเป็นปึกแผ่นละพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ได้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ
ทั้งนี้ การจะพัฒนาประเทศชาติได้นั้น หากเรามีแต่ความรู้อย่างเดียวแต่ขาดคุณธรรม คนจะใช้ความรู้นั้นไปในทางทุจริต จึงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องอบรมให้คนมีนิสัยแห่งคุณธรรม จริยธรรม มีวัฒนธรรม โดยเฉพาะมารยาทไทยทีดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นพลเมืองดี เสมือนเป็นรากแก้วของต้นไม้ ส่วนการสอนของครูก็เพื่อให้คนมีความรู้ มีทักษะชีวิตและการทำงาน เสมือนต้นไม้ที่ชูดอกออกผล
องคมนตรี กล่าวอีกว่า สถาบันวิทยาลัยชุมชนมีปรัชญาทางการศึกษา 3 ประการ คือ การศึกษาเป็นของประชาชน บริหารจัดการโดยประชาชน และจัดตามความต้องการของประชาชน วิทยาลัยแห่งนี้คือสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เชื่อมโยงการศึกษาทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการอนุปริญญา การศึกษากับการทำงาน และการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยศาสตร์ 3 ด้านคือ ศาสตร์สากล หรือความรู้ทั่วไป ศาสตร์ท้องถิ่น หรือความรู้ท้องถิ่น และศาสตร์พระราชา หรือโครงการตามพระราชดำริ ซึ่งนอกจากมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว สถาบันวิทยาลัยชุมชนต้องมีธรรมาภิบาลด้วย ได้แก่ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบ และความรับผิดรับชอบ โดยเป้าประสงค์ของสถาบันวิทยาลัยชุมชน คือให้ความรู้ ฝึกทักษะอาชีพ และเป็นพลเมืองดี ซึ่งการสร้างคนดีนั้นทำยากและใช้เวลานานแต่ก็จำเป็นต้องทำ ซึ่งจากประสบการณ์ในการโครงการโรงเรียนคุณธรรม พบว่า กระบวนการโรงเรียนคุณธรรมเปลี่ยนคนในองค์กรได้ทั้งระบบ โดยมีหลักสำคัญคือ ให้ครูรักนักเรียน-นักเรียนรักครู ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูต้องจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างความสามัคคี
ทั้งนี้ การจะพัฒนาประเทศชาติได้นั้น หากเรามีแต่ความรู้อย่างเดียวแต่ขาดคุณธรรม คนจะใช้ความรู้นั้นไปในทางทุจริต จึงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องอบรมให้คนมีนิสัยแห่งคุณธรรม จริยธรรม มีวัฒนธรรม โดยเฉพาะมารยาทไทยทีดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นพลเมืองดี เสมือนเป็นรากแก้วของต้นไม้ ส่วนการสอนของครูก็เพื่อให้คนมีความรู้ มีทักษะชีวิตและการทำงาน เสมือนต้นไม้ที่ชูดอกออกผล
องคมนตรี กล่าวอีกว่า สถาบันวิทยาลัยชุมชนมีปรัชญาทางการศึกษา 3 ประการ คือ การศึกษาเป็นของประชาชน บริหารจัดการโดยประชาชน และจัดตามความต้องการของประชาชน วิทยาลัยแห่งนี้คือสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เชื่อมโยงการศึกษาทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการอนุปริญญา การศึกษากับการทำงาน และการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยศาสตร์ 3 ด้านคือ ศาสตร์สากล หรือความรู้ทั่วไป ศาสตร์ท้องถิ่น หรือความรู้ท้องถิ่น และศาสตร์พระราชา หรือโครงการตามพระราชดำริ ซึ่งนอกจากมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว สถาบันวิทยาลัยชุมชนต้องมีธรรมาภิบาลด้วย ได้แก่ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบ และความรับผิดรับชอบ โดยเป้าประสงค์ของสถาบันวิทยาลัยชุมชน คือให้ความรู้ ฝึกทักษะอาชีพ และเป็นพลเมืองดี ซึ่งการสร้างคนดีนั้นทำยากและใช้เวลานานแต่ก็จำเป็นต้องทำ ซึ่งจากประสบการณ์ในการโครงการโรงเรียนคุณธรรม พบว่า กระบวนการโรงเรียนคุณธรรมเปลี่ยนคนในองค์กรได้ทั้งระบบ โดยมีหลักสำคัญคือ ให้ครูรักนักเรียน-นักเรียนรักครู ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูต้องจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างความสามัคคี