พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน (กอค.) พร้อมจัดชุดปฎิบัติการ 10 ชุด กระจายลงพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งอย่างเข้มข้นตลอดเดือนมีนาคม โดยในช่วงวันที่ 1-7 มีนาคมที่ผ่านมา พบขอทาน 58 ราย คนไร้ที่พึ่ง 62 ราย รวม 120 ราย ในจำนวนนี้เป็นคนต่างด้าว 29 ราย จากนี้จะนำคนขอทาน และคนไร้ที่พึ่งเข้าสู่กระบวนการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพ บ้านมิตรไมตรี กรุงเทพฯ และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.นนทบุรี โดยหากเป็นคนไทยจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบปัญหา เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด เสริมสร้างความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ ให้สามารถหารายได้เลี้ยงตนเองและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ หากพบเป็นผู้ป่วยจิตเวช จะถูกส่งไปยังสถานพยาบาลเฉพาะทาง ส่วนผู้ที่เป็นคนต่างด้าวจะถูกส่งกลับประเทศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้มงวดกวดขันเป็นพิเศษกับกลุ่มขอทานเด็กที่อาจเป็นเหยื่อในขบวนการค้ามนุษย์ และขอให้ประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นขอทานหรือคนไร้ที่พึ่ง สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีย้ำว่าการจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง จึงฝากให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ บรูณาการความร่วมมือกับทุกหน่วยเพื่อทำงานในเชิงป้องกัน และแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาซึ่งมีหลายมิติ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การติดยาเสพติด ความตึงเครียดจากสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นต้น หากครอบครัวมีความอบอุ่นเข้มแข็งและสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ก็จะช่วยลดจำนวนคนหนีออกจากบ้านได้มากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง มีสมาชิกอาศัยพึ่งพิงอยู่ 4,334 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และผู้ป่วยทางจิตเวช
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีย้ำว่าการจัดระเบียบขอทานและคนไร้ที่พึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง จึงฝากให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ บรูณาการความร่วมมือกับทุกหน่วยเพื่อทำงานในเชิงป้องกัน และแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาซึ่งมีหลายมิติ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การติดยาเสพติด ความตึงเครียดจากสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นต้น หากครอบครัวมีความอบอุ่นเข้มแข็งและสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ก็จะช่วยลดจำนวนคนหนีออกจากบ้านได้มากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง มีสมาชิกอาศัยพึ่งพิงอยู่ 4,334 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และผู้ป่วยทางจิตเวช