วันนี้ (2 มี.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวน 1,250 คน ในเรื่อง "การปฏิรูปพุทธศาสนา"
โดยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก หลงในวัตถุนิยม ลาภ ยศ สรรเสริญ ตำแหน่งทางสงฆ์ หรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 49.76 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา พูดจาไม่สุภาพมีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 40.32 ระบุว่า การสร้างค่านิยมหรือความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญ การถวายทาน การสร้างศาสนสถาน การบริจาคสิ่งของแบบผิด ๆ ร้อยละ 36.64 ระบุว่า วัดบางแห่งมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 32.32 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 31.36 ระบุว่า การบิดเบือนหลักคำสอนของพุทธศาสนา ร้อยละ 30.32 ระบุว่า การบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ไม่เด็ดขาดพอ ร้อยละ 27.36 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ อยู่ที่ตัวบุคคล คนที่นับถือศาสนาพุทธบางคน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ หรือหลักของพุทธศาสนา ขาดการใช้วิจารณญาณในเรื่องของความศรัทธา และปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจนทำเกิดปัญหาตามมา ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใด ๆ เลย และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคม (มส.) ในการดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 7.28 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 1.12 ระบุว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.00 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.32 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของการดำเนินงาน ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ – มีประสิทธิภาพสูงลดลง และสัดส่วนของการดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ – ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพิ่มขึ้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อความเร่งด่วนในการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.48 ระบุว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนความต้องการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบอย่างเร่งด่วนนั้น เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิรูปพุทธศาสนา ในเรื่องต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์ให้มีความสอดคล้องกับพระธรรมวินัย รองลงมา ร้อยละ 42.56 ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุกๆ ฝ่าย คอยสอดส่อง ดูแล พระภิกษุสงฆ์ ให้ประพฤติตนอยู่ในสมณเพศ และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 42.19 ระบุว่า เป็นการบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่เคร่งครัดและเข้มงวด ร้อยละ 42.01 ระบุว่า เป็นการคัดกรองผู้ที่จะเข้าบวชเป็นพระอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม ร้อยละ 34.25 ระบุว่า เป็นการเผยแพร่พุทธศาสนา ที่ไม่บิดเบือน เป็นแก่นแท้ และตรงกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ร้อยละ 32.42 ระบุว่า เป็นการสร้างค่านิยม ความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญที่ถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในความพอดี ร้อยละ 32.15 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของมหาเถรสมาคม (มส.) ร้อยละ 31.32 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพุทธศาสนา ร้อยละ 0.64 ระบุว่า ควรปฎิรูปทุกด้าน และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
โดยความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก หลงในวัตถุนิยม ลาภ ยศ สรรเสริญ ตำแหน่งทางสงฆ์ หรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 49.76 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา พูดจาไม่สุภาพมีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 40.32 ระบุว่า การสร้างค่านิยมหรือความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญ การถวายทาน การสร้างศาสนสถาน การบริจาคสิ่งของแบบผิด ๆ ร้อยละ 36.64 ระบุว่า วัดบางแห่งมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 32.32 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 31.36 ระบุว่า การบิดเบือนหลักคำสอนของพุทธศาสนา ร้อยละ 30.32 ระบุว่า การบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ไม่เด็ดขาดพอ ร้อยละ 27.36 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ อยู่ที่ตัวบุคคล คนที่นับถือศาสนาพุทธบางคน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ หรือหลักของพุทธศาสนา ขาดการใช้วิจารณญาณในเรื่องของความศรัทธา และปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจนทำเกิดปัญหาตามมา ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใด ๆ เลย และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคม (มส.) ในการดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 7.28 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 1.12 ระบุว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.00 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.32 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของการดำเนินงาน ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ – มีประสิทธิภาพสูงลดลง และสัดส่วนของการดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ – ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพิ่มขึ้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อความเร่งด่วนในการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.48 ระบุว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนความต้องการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบอย่างเร่งด่วนนั้น เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิรูปพุทธศาสนา ในเรื่องต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์ให้มีความสอดคล้องกับพระธรรมวินัย รองลงมา ร้อยละ 42.56 ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุกๆ ฝ่าย คอยสอดส่อง ดูแล พระภิกษุสงฆ์ ให้ประพฤติตนอยู่ในสมณเพศ และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 42.19 ระบุว่า เป็นการบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่เคร่งครัดและเข้มงวด ร้อยละ 42.01 ระบุว่า เป็นการคัดกรองผู้ที่จะเข้าบวชเป็นพระอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม ร้อยละ 34.25 ระบุว่า เป็นการเผยแพร่พุทธศาสนา ที่ไม่บิดเบือน เป็นแก่นแท้ และตรงกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ร้อยละ 32.42 ระบุว่า เป็นการสร้างค่านิยม ความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญที่ถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในความพอดี ร้อยละ 32.15 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของมหาเถรสมาคม (มส.) ร้อยละ 31.32 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพุทธศาสนา ร้อยละ 0.64 ระบุว่า ควรปฎิรูปทุกด้าน และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ