นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยกรณีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตรวจข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นการจัดสอบอัตนัยเป็นปีแรก เบื้องต้นพบนักเรียนเขียนภาษาไทยผิด ทั้งการสะกดคำ ใช้คำผิดความหมาย และใช้ภาษาถิ่นตอบคำถาม ส่งผลให้นักเรียนไม่ได้คะแนนในข้อนั้น เนื่องจากคำสั่งกำหนดชัดเจนว่า ให้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการตอบนั้นว่า เมื่อคำสั่งระบุไว้ชัดเจนว่าให้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการตอบ กรรมการตรวจก็ต้องปฏิบัติตามนั้น ซึ่งส่วนตัวจะไม่เข้าไปก้าวล่วงเรื่องระบบการตรวจข้อสอบแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม มองว่าการจัดสอบอัตนัยมีข้อดีที่สะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง ที่โรงเรียนต้องนำข้อมูลกลับมาดูว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ผลที่ออกมาไม่น่าแปลกใจ ซึ่งขณะนี้แทบทุกโรงเรียนมีการบรรจุครูที่จบเอกภาษาไทยโดยตรง มีการปรับปรุงวิธีการสอนที่เน้นสอนแจกลูกสะกดคำมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องมีการปรับอย่างในการสอนภาษาไทย คือ วิธีการประเมิน เพราะธรรมชาติของภาษาไทยเป็นวิชาปฏิบัติ ทั้ง เรื่องฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งการประเมินทั้ง 4 เรื่องต้องอาศัยการประเมินจากการให้เด็กทำจริง แต่การสอบอัตนัยก็ทำได้บางส่วนไม่สามารถทำได้ทั้ง 4 ทักษะ ดังนั้นเรื่องภาษาไทยการประเมินระดับห้องเรียนจะมีความชัดเจนมาก
อย่างไรก็ตาม มองว่าการจัดสอบอัตนัยมีข้อดีที่สะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง ที่โรงเรียนต้องนำข้อมูลกลับมาดูว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ผลที่ออกมาไม่น่าแปลกใจ ซึ่งขณะนี้แทบทุกโรงเรียนมีการบรรจุครูที่จบเอกภาษาไทยโดยตรง มีการปรับปรุงวิธีการสอนที่เน้นสอนแจกลูกสะกดคำมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องมีการปรับอย่างในการสอนภาษาไทย คือ วิธีการประเมิน เพราะธรรมชาติของภาษาไทยเป็นวิชาปฏิบัติ ทั้ง เรื่องฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งการประเมินทั้ง 4 เรื่องต้องอาศัยการประเมินจากการให้เด็กทำจริง แต่การสอบอัตนัยก็ทำได้บางส่วนไม่สามารถทำได้ทั้ง 4 ทักษะ ดังนั้นเรื่องภาษาไทยการประเมินระดับห้องเรียนจะมีความชัดเจนมาก