ในวันนี้ (16 ก.พ.) ศาลปกครองกลางแผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกรวม 21 คน ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรณีขอให้เพิกถอนกระบวนการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 (แผน PDP 2015) และเพิกถอนการประมูลหรือระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนดังกล่าว
ศาลให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 21 คน ไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยตรง และเป็นการเฉพาะตัวอย่างไร ซึ่งเหตุผลและการกระทำดังกล่าวของ กพช.และ สนพ.ก็ไม่ใช่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย หรืออาจเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยตรงเฉพาะตัว
ส่วนที่ กพช. มีมติเห็นชอบแผน PDP 2015 และเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบด้วย ก็เห็นว่า การกระทำของ กพช.เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ การเสนอก็เพียงขั้นตอนการดำเนินการภายในของเจ้าหน้าที่รัฐ ยังไม่มีผลทางกฎหมายออกสู่ภายนอกไปกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี
นอกจากนี้ ที่อ้างว่า กฟผ.ดำเนินการประกวดราคาเพื่อจัดซื้อและจัดจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จ.กระบี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเห็นว่า ประกาศของกฟผ. เรื่องประกวดราคาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสามแห่ง เป็นคำสั่งทางปกครองประเภททั่วไป มีลักษณะเป็นการเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าเสนอราคาโดยไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล ซึ่งผู้ฟ้องคดีส่วนหนึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็ไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพก่อสร้างที่มีสิทธิเข้าประมูล และอีกส่วนหนึ่งแม้จะมีภูมิลำเนาอยู่ใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจก่อให้เกิดมลพิษแพร่กระจายหรือก่อความเสียหายใดต่อผู้ฟ้องคดีได้ และแต่ข้อเท็จจริงตามคำชี้แจงของ กฟผ.กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการประกวดราคา ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ อยู่ระหว่างก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีจะมีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือระงับการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของ กฟผ.ได้ ผู้ฟ้องคดีทั้ง 21 คน จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้
ศาลให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 21 คน ไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยตรง และเป็นการเฉพาะตัวอย่างไร ซึ่งเหตุผลและการกระทำดังกล่าวของ กพช.และ สนพ.ก็ไม่ใช่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย หรืออาจเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยตรงเฉพาะตัว
ส่วนที่ กพช. มีมติเห็นชอบแผน PDP 2015 และเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบด้วย ก็เห็นว่า การกระทำของ กพช.เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ การเสนอก็เพียงขั้นตอนการดำเนินการภายในของเจ้าหน้าที่รัฐ ยังไม่มีผลทางกฎหมายออกสู่ภายนอกไปกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี
นอกจากนี้ ที่อ้างว่า กฟผ.ดำเนินการประกวดราคาเพื่อจัดซื้อและจัดจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จ.กระบี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเห็นว่า ประกาศของกฟผ. เรื่องประกวดราคาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสามแห่ง เป็นคำสั่งทางปกครองประเภททั่วไป มีลักษณะเป็นการเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าเสนอราคาโดยไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล ซึ่งผู้ฟ้องคดีส่วนหนึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็ไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพก่อสร้างที่มีสิทธิเข้าประมูล และอีกส่วนหนึ่งแม้จะมีภูมิลำเนาอยู่ใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจก่อให้เกิดมลพิษแพร่กระจายหรือก่อความเสียหายใดต่อผู้ฟ้องคดีได้ และแต่ข้อเท็จจริงตามคำชี้แจงของ กฟผ.กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการประกวดราคา ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ อยู่ระหว่างก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่อาจจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีจะมีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือระงับการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของ กฟผ.ได้ ผู้ฟ้องคดีทั้ง 21 คน จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้