รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 59 ว่า มียอดสินเชื่อจากโครงการนโยบายรัฐรวมทั้งสิ้นกว่า 941,000 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา 3.93% ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล ) ของโครงการนโยบายรัฐ มีทั้งสิ้นกว่า 33,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.52% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ถือว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางปี 54/55 และโครงการมูลพันธ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง เพิ่มเข้ามารวม 23,300 ล้านบาท แต่ภาพรวมถือว่ามีเอ็นพีแอล ต่ำกว่าภาพรวมของระบบแบงก์รัฐ อยู่ที่ 6.38%
ทั้งนี้ หากยอดเอ็นพีแอลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้รัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะต้องพิจารณาเพิ่มทุนอีกด้วย โดย สศค.ได้ประมาณการภาระทางการคลังของโครงการนโยบายรัฐ ผ่านแบงก์รัฐที่รอรับการชดเชยจากรัฐบาล รวมทั้งสิ้น 282,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.45% จากไตรมาสที่ผ่านมา โดย ธ.ก.ส.มีมูลค่ามากที่สุดกว่า 213,000 ล้านบาท โดยภาระการคลังส่วนใหญ่มาจากภาระการชดเชยต้นเงินในโครงการที่ใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส. เช่น โครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร โครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นต้น รวมกว่า 198,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 92.81% ของภาระการคลังรอการชดเชยของ ธ.ก.ส. ทั้งหมด
ขณะที่รองลงมาคือ ธนาคารออมสินที่มีภาระทางการคลังคงเหลือรอการชดเชยทั้งสิ้น 46,200 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้จากโครงการ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ที่สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปี 58-59 กว่า 30,000 ล้านบาท ส่วนบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐ ทำให้รัฐบาลมีภาระทางการคลังที่ต้องชดเชยเช่นเดียวกับแบงก์รัฐอื่นๆ โดยประมาณการภาระทางการคลังคงเหลือรอการชดเชยจากรัฐบาล 16,800 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากยอดเอ็นพีแอลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้รัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะต้องพิจารณาเพิ่มทุนอีกด้วย โดย สศค.ได้ประมาณการภาระทางการคลังของโครงการนโยบายรัฐ ผ่านแบงก์รัฐที่รอรับการชดเชยจากรัฐบาล รวมทั้งสิ้น 282,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.45% จากไตรมาสที่ผ่านมา โดย ธ.ก.ส.มีมูลค่ามากที่สุดกว่า 213,000 ล้านบาท โดยภาระการคลังส่วนใหญ่มาจากภาระการชดเชยต้นเงินในโครงการที่ใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส. เช่น โครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร โครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นต้น รวมกว่า 198,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 92.81% ของภาระการคลังรอการชดเชยของ ธ.ก.ส. ทั้งหมด
ขณะที่รองลงมาคือ ธนาคารออมสินที่มีภาระทางการคลังคงเหลือรอการชดเชยทั้งสิ้น 46,200 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้จากโครงการ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ที่สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปี 58-59 กว่า 30,000 ล้านบาท ส่วนบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐ ทำให้รัฐบาลมีภาระทางการคลังที่ต้องชดเชยเช่นเดียวกับแบงก์รัฐอื่นๆ โดยประมาณการภาระทางการคลังคงเหลือรอการชดเชยจากรัฐบาล 16,800 ล้านบาท