พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอแผนการเสริมสร้างฟื้นฟูและเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 โดยมีทั้งหมด 17 โครงการ วงเงินรวม 2,514.77 ล้านบาท ประกอบด้วย การหยุดยั้งความเสียหาย 4 โครงการ ได้แก่ 1การบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.6 ในพื้นที่เกษตร การจ้างงานชลประทาน โครงการฝึกอบรม การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก และคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ พืช ปศุสัตว์ ประมง
การเสริมสร้างฟื้นฟู 10 โครงการ ได้แก่ ด้านพืช ประกอบด้วย 1โครงการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรโดยปรับปรุงบำรุงดิน โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตร โดยสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคไม้ยืนต้น (สารไตรโคเดอร์มา) รวมทั้งส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคและสร้างรายได้ และโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม
ด้านปศุสัตว์ ประกอบด้วย โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ระยะเร่งด่วน และโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริส่งเสริมอาชีพโคเนื้อ/กระบือ
ด้านประมง ประกอบด้วย โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยด้านประมง เงินทุนฟื้นฟูการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ด้านลดภาระหนี้สิน/สินเชื่อใหม่ ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ประสบภัย ซึ่งขยายระยะเวลาชำระหนี้ 6 เดือน โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจนที่ประสบภัย โดยงดคิดดอกเบี้ย 1 ปี ในปีถัดไปให้ลดดอกเบี้ย จากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 2 เป็นเวลา 2 ปี และมาตรการช่วยเหลือด้านหนี้สินเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้นดอกเบี้ยสินเชื่อในปี 2560 และขยายเวลาการชำระหนี้เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินให้กับเกษตรกร ตลอดจนเพิ่มวงเงินสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรในเขต ส.ป.ก.
ส่วนด้านระบบชลประทาน มีการซ่อมแซมโครงการชลประทาน เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการฟื้นฟูกลับคืนมา รวมถึงการจัดทำแผนงานโดยเฉพาะการพัฒนาฟลัดเวย์ ได้ประสานกับผังเมืองเพื่อดำเนินการเตรียมแผนดังกล่าว รวมทั้งกรมชลประทานได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือเยียวยา ตามระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 3 โครงการ ได้แก่ การช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 3,000 บาท การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ และการช่วยเหลือตามระเบียบกองทุนพัฒนายางพารา เป็นทุนปลูกแทน 16,000 บาทต่อไร่
การเสริมสร้างฟื้นฟู 10 โครงการ ได้แก่ ด้านพืช ประกอบด้วย 1โครงการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรโดยปรับปรุงบำรุงดิน โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตร โดยสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคไม้ยืนต้น (สารไตรโคเดอร์มา) รวมทั้งส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคและสร้างรายได้ และโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม
ด้านปศุสัตว์ ประกอบด้วย โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ระยะเร่งด่วน และโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริส่งเสริมอาชีพโคเนื้อ/กระบือ
ด้านประมง ประกอบด้วย โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยด้านประมง เงินทุนฟื้นฟูการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ด้านลดภาระหนี้สิน/สินเชื่อใหม่ ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ประสบภัย ซึ่งขยายระยะเวลาชำระหนี้ 6 เดือน โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจนที่ประสบภัย โดยงดคิดดอกเบี้ย 1 ปี ในปีถัดไปให้ลดดอกเบี้ย จากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 2 เป็นเวลา 2 ปี และมาตรการช่วยเหลือด้านหนี้สินเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้นดอกเบี้ยสินเชื่อในปี 2560 และขยายเวลาการชำระหนี้เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินให้กับเกษตรกร ตลอดจนเพิ่มวงเงินสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรในเขต ส.ป.ก.
ส่วนด้านระบบชลประทาน มีการซ่อมแซมโครงการชลประทาน เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการฟื้นฟูกลับคืนมา รวมถึงการจัดทำแผนงานโดยเฉพาะการพัฒนาฟลัดเวย์ ได้ประสานกับผังเมืองเพื่อดำเนินการเตรียมแผนดังกล่าว รวมทั้งกรมชลประทานได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับการช่วยเหลือเยียวยา ตามระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 3 โครงการ ได้แก่ การช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 3,000 บาท การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ และการช่วยเหลือตามระเบียบกองทุนพัฒนายางพารา เป็นทุนปลูกแทน 16,000 บาทต่อไร่