นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Watana Muangsook ระบุว่า"อย่าดันทุรัง" "ดันทุรัง" เป็นคำวิเศษณ์ (adjective) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แปลว่า "ดื้อดึงไม่ยอมแพ้ ดื้อดึงไม่เข้าเรื่อง" อันเป็นพฤติกรรมของรัฐบาลที่หลีกเลี่ยงกฎหมายร่วมทุน ขยายอายุสัญญาและอนุมัติให้เอ็น ซี ซี เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังใหม่โดยไม่มีการแข่งขัน
เหตุผลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมธนารักษ์ ที่ว่าเอกชนไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา รัฐบาลจึงไม่สามารถยกเลิกสัญญา และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจนเกิดความเสียหายมากกว่าการเจรจาต่อสัญญานั้น เป็นคำแก้ตัวที่รับฟังไม่ขึ้น กล่าวคือ 1.การที่เอกชนก่อสร้างโรงแรมไม่ได้เพราะติดผังเมืองของ กทม.ทำให้การชำระหนี้รายนี้ตกเป็นพ้นวิสัยโดยไม่ใช่ความผิดของใครทั้งสิ้น เอกชนจึงไม่สามารถฟ้องกรมธนารักษ์ได้ตามคำพิพากษาฎีกา ที่ 14493/2557 ความเสี่ยงที่ท่านกังวลจึงไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ
2.ข้อเสนอที่จะลงทุนตามโครงการเดิมจึงสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องไปยกเลิกสัญญา เพราะตกเป็นพ้นวิสัย การลงทุนครั้งนี้จึงเป็นการลงทุนใหม่เพื่อก่อสร้างศูนย์ประชุมหลังใหม่แทนของเดิมที่จะถูกรื้อทิ้ง ซึ่งจะต้องยื่นแบบ และขออนุญาตก่อสร้างใหม่ทั้งหมด
3.ที่กฤษฎีกาและอัยการสูงสุดตอบว่า การแก้ไขสัญญาทำได้หากไม่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ก็ถูกต้องแล้ว แต่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ด้วย
4.เรื่องนี้อยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งกรมธนารักษ์จะต้องออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ส่วนการคัดเลือกจะไม่ใช้วิธีประมูลก็เป็นขั้นตอนภายหลังจากมีการประกาศเชิญชวนแล้ว
และ 5.หากมั่นใจว่าเอกชนรายนี้เสนอประโยชน์สูงสุดให้รัฐแล้วยิ่งไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะไม่ว่าจะเปิดให้มีการแข่งขันอีกกี่รอบ เอกชนรายนี้ก็ต้องชนะอยู่ดี ที่สำคัญคือ ระยะเวลาตามสัญญาเดิมยังเหลืออยู่อีกหลายปี จึงมีเวลามากพอที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ แล้วจะรีบดันทุรังหาเรื่องเลี่ยงบาลีไปเพื่อใครเหรอครับ
เหตุผลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมธนารักษ์ ที่ว่าเอกชนไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา รัฐบาลจึงไม่สามารถยกเลิกสัญญา และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจนเกิดความเสียหายมากกว่าการเจรจาต่อสัญญานั้น เป็นคำแก้ตัวที่รับฟังไม่ขึ้น กล่าวคือ 1.การที่เอกชนก่อสร้างโรงแรมไม่ได้เพราะติดผังเมืองของ กทม.ทำให้การชำระหนี้รายนี้ตกเป็นพ้นวิสัยโดยไม่ใช่ความผิดของใครทั้งสิ้น เอกชนจึงไม่สามารถฟ้องกรมธนารักษ์ได้ตามคำพิพากษาฎีกา ที่ 14493/2557 ความเสี่ยงที่ท่านกังวลจึงไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ
2.ข้อเสนอที่จะลงทุนตามโครงการเดิมจึงสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องไปยกเลิกสัญญา เพราะตกเป็นพ้นวิสัย การลงทุนครั้งนี้จึงเป็นการลงทุนใหม่เพื่อก่อสร้างศูนย์ประชุมหลังใหม่แทนของเดิมที่จะถูกรื้อทิ้ง ซึ่งจะต้องยื่นแบบ และขออนุญาตก่อสร้างใหม่ทั้งหมด
3.ที่กฤษฎีกาและอัยการสูงสุดตอบว่า การแก้ไขสัญญาทำได้หากไม่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ก็ถูกต้องแล้ว แต่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ด้วย
4.เรื่องนี้อยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งกรมธนารักษ์จะต้องออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ส่วนการคัดเลือกจะไม่ใช้วิธีประมูลก็เป็นขั้นตอนภายหลังจากมีการประกาศเชิญชวนแล้ว
และ 5.หากมั่นใจว่าเอกชนรายนี้เสนอประโยชน์สูงสุดให้รัฐแล้วยิ่งไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะไม่ว่าจะเปิดให้มีการแข่งขันอีกกี่รอบ เอกชนรายนี้ก็ต้องชนะอยู่ดี ที่สำคัญคือ ระยะเวลาตามสัญญาเดิมยังเหลืออยู่อีกหลายปี จึงมีเวลามากพอที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ แล้วจะรีบดันทุรังหาเรื่องเลี่ยงบาลีไปเพื่อใครเหรอครับ