วันนี้ (4 ก.พ.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,254 คน เรื่อง "ปัญหาหนักอกคนไทย ทำอย่างไร? จึงจะแก้ได้" โดย 5 ปัญหาหนักอกของคนไทย ณ วันนี้ ประชาชนร้อยละ 84.69 ระบุว่า คือการทุจริต คอร์รัปชัน ร้อยละ 74.0 ระบุ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (โจรผู้ร้ายชุกชุม) ร้อยละ 71.05 ระบุ ความเป็นอยู่ที่ยากจน มีหนี้สิน ร้อยละ 68.18 ระบุ ความแตกแยก ขัดแย้งของผู้คน และร้อยละ 64.99 ระบุ ปัญหาการเมือง
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมสำหรับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ร้อยละ 79.67 ระบุต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ร้อยละ 76.56 ระบุ ต้องพัฒนาการศึกษา ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ขณะที่ร้อยละ 69.46 ระบุ ต้องมีระบบการตรวจสอบ และช่วยกันสอดส่องดูแล ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 70.02 ระบุ เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขัน บทลงโทษต้องรุนแรง ร้อยละ 65.31 ระบุ ต้องมีสติ รอบคอบ ระมัดระวัง ร้อยละ 51.12 ระบุ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่
ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่ยากจน และมีหนี้สิน ร้อยละ 70.33 ระบุ รัฐต้องมีนโยบายช่วยเหลือ จ้างงาน ลดภาษี ร้อยละ 62.12 ประชาชนต้องประหยัด วางแผนการใช้จ่าย และร้อยละ 59.35 ระบุ ต้องปราบปรามเงินกู้นอกระบบ สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยก ขัดแย้งของผู้คน ร้อยละ 69.70 ระบุ ต้องให้ภัย หันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือกัน ร้อยละ 61.24 ระบุ ต้องมีคนกลาง เจรจาพูดคุย รับฟังซึ่งกันและกัน ร้อยละ 53.75 ระบุ ต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์
นอกจากนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการเมือง ประชาชนร้อยละ 81.34 ระบุ ต้องเสริมสร้างความปรองดอง หันหน้าเข้าหากัน ร้อยละ 77.35 ระบุ ต้องมีการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 63.88 ระบุ นักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เห็นแก่ส่วนรวม
สำหรับอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ประชาชนร้อยละ 72.49 มองว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี สังคมเสื่อมโทรม ร้อยละ 66.03 ระบุ พฤติกรรม จิตสำนึก ความโลภ นิสัยส่วนบุคคล และร้อยละ 65.71 ระบุ เป็นผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลย ส่วนอุปสรรคในการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 73.13 ระบุ เนื่องจากความยากจน สังคมเสื่อมโทรม ร้อยละ 67.22 ระบุ เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง บทลงโทษไม่รุนแรง และร้อยละ 52.63 ระบุ เนื่องจากยังมีปัญหาคนติดยา และค้ายาเสพติด
ขณะที่อุปสรรคในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่ยากจน ประชาชนร้อยละ 71.77 มองว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง ทำมาหากินลำบาก ร้อยละ 66.75 ระบุ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกโกง และร้อยละ 63.72 ระบุ เป็นเพราะพฤติกรรมส่วนบุคคล ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกัน อุปสรรคในการแก้ปัญหาความแตกแยก ความขัดแย้งของผู้คน ประชาชนมองว่าเกิดจากทัศนคติ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน / การถือทิฐิ เห็นแก่พวกพ้อง ไม่รับฟังความเห็น และการมีผู้ไม่หวังดี ยุยง ปล่อยข่าว สร้างกระแส ร้อยละ 74.40, 59.81 และ 52.95 ตามลำดับ
ส่วนอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาการเมืองนั้น ประชาชนร้อยละ 82.54 มองว่าเกิดจากนักการเมืองขาดจิตสำนึก เห็นแก่ผลประโยชน์ ร้อยละ 80.22 มองว่าเกิดจากนักการเมืองเป็นผู้มีอิทธิพล มีพรรคพวก เส้นสาย และร้อยละ 65.39 มองว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิขายเสียง
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมสำหรับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ร้อยละ 79.67 ระบุต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ร้อยละ 76.56 ระบุ ต้องพัฒนาการศึกษา ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ขณะที่ร้อยละ 69.46 ระบุ ต้องมีระบบการตรวจสอบ และช่วยกันสอดส่องดูแล ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 70.02 ระบุ เจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดกวดขัน บทลงโทษต้องรุนแรง ร้อยละ 65.31 ระบุ ต้องมีสติ รอบคอบ ระมัดระวัง ร้อยละ 51.12 ระบุ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่
ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่ยากจน และมีหนี้สิน ร้อยละ 70.33 ระบุ รัฐต้องมีนโยบายช่วยเหลือ จ้างงาน ลดภาษี ร้อยละ 62.12 ประชาชนต้องประหยัด วางแผนการใช้จ่าย และร้อยละ 59.35 ระบุ ต้องปราบปรามเงินกู้นอกระบบ สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาความแตกแยก ขัดแย้งของผู้คน ร้อยละ 69.70 ระบุ ต้องให้ภัย หันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือกัน ร้อยละ 61.24 ระบุ ต้องมีคนกลาง เจรจาพูดคุย รับฟังซึ่งกันและกัน ร้อยละ 53.75 ระบุ ต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์
นอกจากนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการเมือง ประชาชนร้อยละ 81.34 ระบุ ต้องเสริมสร้างความปรองดอง หันหน้าเข้าหากัน ร้อยละ 77.35 ระบุ ต้องมีการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 63.88 ระบุ นักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เห็นแก่ส่วนรวม
สำหรับอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ประชาชนร้อยละ 72.49 มองว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี สังคมเสื่อมโทรม ร้อยละ 66.03 ระบุ พฤติกรรม จิตสำนึก ความโลภ นิสัยส่วนบุคคล และร้อยละ 65.71 ระบุ เป็นผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลย ส่วนอุปสรรคในการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 73.13 ระบุ เนื่องจากความยากจน สังคมเสื่อมโทรม ร้อยละ 67.22 ระบุ เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง บทลงโทษไม่รุนแรง และร้อยละ 52.63 ระบุ เนื่องจากยังมีปัญหาคนติดยา และค้ายาเสพติด
ขณะที่อุปสรรคในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่ยากจน ประชาชนร้อยละ 71.77 มองว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง ทำมาหากินลำบาก ร้อยละ 66.75 ระบุ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกโกง และร้อยละ 63.72 ระบุ เป็นเพราะพฤติกรรมส่วนบุคคล ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกัน อุปสรรคในการแก้ปัญหาความแตกแยก ความขัดแย้งของผู้คน ประชาชนมองว่าเกิดจากทัศนคติ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน / การถือทิฐิ เห็นแก่พวกพ้อง ไม่รับฟังความเห็น และการมีผู้ไม่หวังดี ยุยง ปล่อยข่าว สร้างกระแส ร้อยละ 74.40, 59.81 และ 52.95 ตามลำดับ
ส่วนอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาการเมืองนั้น ประชาชนร้อยละ 82.54 มองว่าเกิดจากนักการเมืองขาดจิตสำนึก เห็นแก่ผลประโยชน์ ร้อยละ 80.22 มองว่าเกิดจากนักการเมืองเป็นผู้มีอิทธิพล มีพรรคพวก เส้นสาย และร้อยละ 65.39 มองว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิขายเสียง