พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล หรือ ผบช.น. ลงพื้นที่ตรวจการเริ่มใช้กล้องตรวจจับความเร็ว และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรบนถนนวิภาวดี-รังสิต พร้อมดำเนินการออกใบสั่งผู้กระทำผิดกฎจราจรโดยใช้ภาพถ่าย และใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ เปิดเผยว่า มาตรวจกล้องจับความเร็ว ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ สามารถบันทึกได้ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ ซึ่งบนถนนวิภาวดี มีปัญหาของผู้ฝ่าฝืนคือ รถจักรยานยนต์วิ่งในช่องทางด่วน รถจักรยานยนต์ย้อนศร รถจักรยานยนต์วิ่งบนฟุตปาธ วิ่งปาดทับเส้นทึบ และรถใช้ความเร็ว และอาจปรับใช้กับการจัดการกับกลุ่มเด็กแว้น ก่อนจะออกเป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปยังที่อยู่ของเจ้าของรถ ซึ่งผู้ที่ได้รับใบสั่งจะต้องชำระภายใน 7 วัน หากไม่ชำระจะมีใบเตือน แต่ถ้าหากยังไม่ชำระอีกภายใน 30 วัน จะนำไปสู่การติดแบล็กลิสต์ ในการต่อทะเบียน ต่อประกันรถ การทำธุรกรรมกับรถในอนาคต
สำหรับการชำระค่าปรับจากใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ 3 ช่องทางคือ สถานีตำรวจพื้นที่ถูกออกใบสั่ง , เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย , ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย โดยมาตรการนี้จะเริ่มในทุกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งปัจจุบันมีกล้องตรวจจับความเร็วทั้งนครบาลทั้งสิ้น 14 ตัว คือ กองบังคับการตำรวจจราจร 5 ตัว และตาม 9 กองบังคับการ ส่วนพื้นที่ สน.อื่นๆ จะมีกล้องภาพนิ่ง ที่คอยจับภาพผู้กระทำความผิด ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่พบการร้องเรียนและปัญหา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรบนถนนวิภาวดีพื้นที่ สน.วิภาวดี พบว่า มีผู้ถูกออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์แล้วกว่า 1,000 คน วันละกว่า 300 คัน ส่วนความผิดที่พบบ่อย ใช้ความเร็วเกินกำหนด กับรถจักรยานยนต์วิ่งในช่องทางด่วน
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ เปิดเผยว่า มาตรวจกล้องจับความเร็ว ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ สามารถบันทึกได้ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ ซึ่งบนถนนวิภาวดี มีปัญหาของผู้ฝ่าฝืนคือ รถจักรยานยนต์วิ่งในช่องทางด่วน รถจักรยานยนต์ย้อนศร รถจักรยานยนต์วิ่งบนฟุตปาธ วิ่งปาดทับเส้นทึบ และรถใช้ความเร็ว และอาจปรับใช้กับการจัดการกับกลุ่มเด็กแว้น ก่อนจะออกเป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ส่งไปยังที่อยู่ของเจ้าของรถ ซึ่งผู้ที่ได้รับใบสั่งจะต้องชำระภายใน 7 วัน หากไม่ชำระจะมีใบเตือน แต่ถ้าหากยังไม่ชำระอีกภายใน 30 วัน จะนำไปสู่การติดแบล็กลิสต์ ในการต่อทะเบียน ต่อประกันรถ การทำธุรกรรมกับรถในอนาคต
สำหรับการชำระค่าปรับจากใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ 3 ช่องทางคือ สถานีตำรวจพื้นที่ถูกออกใบสั่ง , เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย , ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย โดยมาตรการนี้จะเริ่มในทุกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งปัจจุบันมีกล้องตรวจจับความเร็วทั้งนครบาลทั้งสิ้น 14 ตัว คือ กองบังคับการตำรวจจราจร 5 ตัว และตาม 9 กองบังคับการ ส่วนพื้นที่ สน.อื่นๆ จะมีกล้องภาพนิ่ง ที่คอยจับภาพผู้กระทำความผิด ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่พบการร้องเรียนและปัญหา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรบนถนนวิภาวดีพื้นที่ สน.วิภาวดี พบว่า มีผู้ถูกออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์แล้วกว่า 1,000 คน วันละกว่า 300 คัน ส่วนความผิดที่พบบ่อย ใช้ความเร็วเกินกำหนด กับรถจักรยานยนต์วิ่งในช่องทางด่วน