พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ หรือ มินิคาบิเนตครั้งแรก และมอบนโยบายซักซ้อมความเข้าใจการทำงานของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) และสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (PMDU) ว่า จะเป็นประธานคณะกรรมการทุกคณะด้วยตนเอง เพื่อกำกับดูแลให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและให้เกิดความชัดเจนในระยะที่ 2 ของการปฏิรูป ก่อนส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การมอบนโยบายให้ปลัดกระทรวงให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้มแข็งลดปัญหาภายในที่มาจากการแต่งตั้งและการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ส่วนการป้องการการทุจริตมีคณะกรรมการบริหารงานเชิงบูรณาการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงบประมาณ มาเป็นผู้ดูแลอีกทางหนึ่ง ส่วนการทำงานของคณะกรรมการปรองดองตนให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่ หากยังไม่สามารถทำได้ การทำงานของคณะกรรมการทุกด้านจะมีปัญหาตามไปด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปรองดองมีหลายด้าน ขออย่ามองแค่การเมืองและการนิรโทษกรรม ยืนยันว่าจะไม่ออกคำสั่งตามมาตรา 44 มาดำเนินการเรื่องนี้ คนผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและได้รับโทษก่อน จากนั้นอาจจะลดหย่อนให้ และการทำงานด้านปรองดองไม่จำเป็นต้องดีลพิเศษกับฝ่ายการเมือง เพื่อให้เข้าร่วมปรองดองตามที่มีกระแสข่าว การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ทุกคนในประเทศต้องอยู่อย่างสงบ สันติ สนับสนุนการทำงานของทุกรัฐบาล ภายใต้กลไกของประชาชนและกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายพิเศษมาบังคับ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รายชื่อของคณะทำงานทุกคณะยังไม่แล้วเสร็จ แต่ยอมรับว่าได้ทาบทามนายคณิต ณ นคร อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.)และนายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เข้าร่วม
ทั้งนี้ การมอบนโยบายให้ปลัดกระทรวงให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้มแข็งลดปัญหาภายในที่มาจากการแต่งตั้งและการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ส่วนการป้องการการทุจริตมีคณะกรรมการบริหารงานเชิงบูรณาการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงบประมาณ มาเป็นผู้ดูแลอีกทางหนึ่ง ส่วนการทำงานของคณะกรรมการปรองดองตนให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่ หากยังไม่สามารถทำได้ การทำงานของคณะกรรมการทุกด้านจะมีปัญหาตามไปด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปรองดองมีหลายด้าน ขออย่ามองแค่การเมืองและการนิรโทษกรรม ยืนยันว่าจะไม่ออกคำสั่งตามมาตรา 44 มาดำเนินการเรื่องนี้ คนผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและได้รับโทษก่อน จากนั้นอาจจะลดหย่อนให้ และการทำงานด้านปรองดองไม่จำเป็นต้องดีลพิเศษกับฝ่ายการเมือง เพื่อให้เข้าร่วมปรองดองตามที่มีกระแสข่าว การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ทุกคนในประเทศต้องอยู่อย่างสงบ สันติ สนับสนุนการทำงานของทุกรัฐบาล ภายใต้กลไกของประชาชนและกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายพิเศษมาบังคับ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รายชื่อของคณะทำงานทุกคณะยังไม่แล้วเสร็จ แต่ยอมรับว่าได้ทาบทามนายคณิต ณ นคร อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.)และนายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เข้าร่วม