นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการบรรยายถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและทิศทางการดำเนินนโยบายของ ธปท. ปี 60 ว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย เพราะผลการศึกษาข้อมูลรายละเอียดของบริษัทข้อมูลเครดิต พบว่าคนไทยก่อหนี้ในระดับค่อนข้างสูงตั้งแต่อายุยังน้อย เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และระดับหนี้ไม่ได้ลดลงเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ โดยคนไทยอายุ 29 ปี ที่มีหนี้สิน ซึ่ง 1 ใน 5 รายจะเป็นหนี้เสีย และคนไทยอายุ 56 ปี จะมียอดหนี้สูงสุดที่ค้างชำระสูงถึง 180,000 บาท ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายตามค่านิยม และกระแสการบริโภคของสังคมที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ การก่อหนี้ของคนไทยตั้งแต่อายุยังน้อยจนถึงสู่วัยเกษียณ แบ่งเป็นยอดหนี้ขั้นต่ำอยู่ที่รายละ 40,000 บาท และสูงสุดรายละ 180,000 บาท หรือเฉลี่ยรายละ 136,900 บาท ซึ่งในส่วนนี้มีหนี้เสียสูงถึงร้อยละ 16.4 ล้วนเกิดจากปัญหาการผิดชำระหนี้สูง สะท้อนถึงการขาดวินัยทางการเงินและขาดทักษะการบริหารเงิน โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไข เพราะระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการเป็นหนี้ โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการบริโภคนั้นไม่มีวันยั่งยืน และสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นายสมคิด กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ยังไม่รวมยอดหนี้จากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ยังมีปัญหาผิดชำระหนี้สูง โดยปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย แม้จะหักหนี้ที่ประชาชนกู้ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจออก ที่คิดเป็นร้อยละ 20 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอาจส่งผลบั่นทอนเศรษฐกิจไทยในยุคที่ครัวเรือนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น โดย ธปท.กำลังเร่งศึกษาหลายด้าน ทั้งการให้สินเชื่อ การเสนอขายผลิตภัณฑ์ เช่น บัตรเครดิต ว่าสอดคล้องและจำเป็นต่อความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่
ทั้งนี้ การก่อหนี้ของคนไทยตั้งแต่อายุยังน้อยจนถึงสู่วัยเกษียณ แบ่งเป็นยอดหนี้ขั้นต่ำอยู่ที่รายละ 40,000 บาท และสูงสุดรายละ 180,000 บาท หรือเฉลี่ยรายละ 136,900 บาท ซึ่งในส่วนนี้มีหนี้เสียสูงถึงร้อยละ 16.4 ล้วนเกิดจากปัญหาการผิดชำระหนี้สูง สะท้อนถึงการขาดวินัยทางการเงินและขาดทักษะการบริหารเงิน โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไข เพราะระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการเป็นหนี้ โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการบริโภคนั้นไม่มีวันยั่งยืน และสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นายสมคิด กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ยังไม่รวมยอดหนี้จากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ยังมีปัญหาผิดชำระหนี้สูง โดยปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย แม้จะหักหนี้ที่ประชาชนกู้ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจออก ที่คิดเป็นร้อยละ 20 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอาจส่งผลบั่นทอนเศรษฐกิจไทยในยุคที่ครัวเรือนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น โดย ธปท.กำลังเร่งศึกษาหลายด้าน ทั้งการให้สินเชื่อ การเสนอขายผลิตภัณฑ์ เช่น บัตรเครดิต ว่าสอดคล้องและจำเป็นต่อความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่