รายงานข่าวจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แจ้งว่า ในการประชุมสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วันนี้(24 ม.ค.60) ซึ่งมี เทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์ฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้มีการพิจารณาเรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ... ตามที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนประเทศด้านการสื่อสารมวลชนฯ ได้ดำเนินการยกร่างขึ้น เพื่อดำเนินการส่งให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น
รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิก 10 สมาคม ได้หารือถึงเนื้อหาสาระในร่างกฏหมายฉบับนี้ โดยเห็นว่ามิได้อยู่บนพื้นฐานหลักการของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่กลับเน้นหลักการควบคุมสื่อมวลชน โดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย ฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเองโดยอิสระและปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมีมติคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ พร้อมทั้งจะร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวคัดค้านและร่วมกันแถลงจุดยืนกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆ ที่มีการนัดหมายระดมพลังต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ในวันอาทิตย์ที่ 29 ม.ค. 2560 เวลา 11.00 น. ณ สมาคมนักข่าวฯ(ตรงข้าม ร.พ.วชิระ) ถนนสามเสน พร้อมกันนี้ สมาพันธ์ฯได้ทำหนังสือเชิญชวนสมาชิกนักข่าวและช่างภาพทั่วประเทศทั้ง 10 องค์กรสื่อให้เข้าร่วมแสดงพลังในวันเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียง
ทั้งนี้เนื้อหาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ...ที่ สปท.กำลังจะผลักดันออกมา จะกำหนดให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติขึ้นมากำกับดูแลสื่อมวลชนทั้งหมด โดยมีอำนาจหน้าที่ที่จะขึ้นทะเบียนออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้ โดยคณะกรรมการของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาตินี้จะมีตัวแทนรัฐระดับปลัดกระทรวงถึง 4 กระทรวงร่วมเป็นกรรมการด้วย อันจะเป็นช่องทางให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงสื่อได้
สำหรับ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 10 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย
รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิก 10 สมาคม ได้หารือถึงเนื้อหาสาระในร่างกฏหมายฉบับนี้ โดยเห็นว่ามิได้อยู่บนพื้นฐานหลักการของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่กลับเน้นหลักการควบคุมสื่อมวลชน โดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย ฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเองโดยอิสระและปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมีมติคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ พร้อมทั้งจะร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวคัดค้านและร่วมกันแถลงจุดยืนกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่างๆ ที่มีการนัดหมายระดมพลังต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ในวันอาทิตย์ที่ 29 ม.ค. 2560 เวลา 11.00 น. ณ สมาคมนักข่าวฯ(ตรงข้าม ร.พ.วชิระ) ถนนสามเสน พร้อมกันนี้ สมาพันธ์ฯได้ทำหนังสือเชิญชวนสมาชิกนักข่าวและช่างภาพทั่วประเทศทั้ง 10 องค์กรสื่อให้เข้าร่วมแสดงพลังในวันเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียง
ทั้งนี้เนื้อหาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ...ที่ สปท.กำลังจะผลักดันออกมา จะกำหนดให้มีสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติขึ้นมากำกับดูแลสื่อมวลชนทั้งหมด โดยมีอำนาจหน้าที่ที่จะขึ้นทะเบียนออกใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้ โดยคณะกรรมการของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาตินี้จะมีตัวแทนรัฐระดับปลัดกระทรวงถึง 4 กระทรวงร่วมเป็นกรรมการด้วย อันจะเป็นช่องทางให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงสื่อได้
สำหรับ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 10 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย