นายกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2560 นี้ กฟผ.คาดการณ์จะเพิ่มสูงสุด(พีก) เป็นประวัติการณ์ที่ 30,086 เมกะวัตต์ คิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1.6% ต่อปี และปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปีจะอยู่ที่ 1.94 แสนล้านหน่วย เติบโต 2.9% ต่อปี ขณะที่ในปี 2559 ที่ผ่านมา ตัวเลขพีคอยู่ที่ 29,618.8 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 เวลา 22.28 น. เติบโตจากปี 2558 ถึง 8.3% จากภาวะแล้งจนส่งผลให้มีอุณหภูมิสูง อากาศร้อนอบอ้าว โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว มาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับอัตราการเติบโตจากภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว จะทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่ขณะนี้กำลังการผลิตไม่เพียงพอ รับความต้องการใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงต้องจำเป็นต้องเร่งสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ล่าสุดทาง กฟผ. ยังรอความชัดเจนจากภาครัฐ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ จะมีวาระพิจารณาโครงการดังกล่าวด้วย หาก กพช. เห็นชอบ กฟผ.ก็พร้อมดำเนินการทันที ขณะเดียวกันภาครัฐจะต้องปลดล็อกคำสั่งของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้
อย่างไรก็ตาม หากมติ กพช.ไม่เห็นชอบเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาครัฐว่า สุดท้ายแล้วจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าพื้นที่ภาคใต้จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่ เพื่อรองรับกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นทุกปี
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ล่าสุดทาง กฟผ. ยังรอความชัดเจนจากภาครัฐ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ จะมีวาระพิจารณาโครงการดังกล่าวด้วย หาก กพช. เห็นชอบ กฟผ.ก็พร้อมดำเนินการทันที ขณะเดียวกันภาครัฐจะต้องปลดล็อกคำสั่งของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้
อย่างไรก็ตาม หากมติ กพช.ไม่เห็นชอบเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาครัฐว่า สุดท้ายแล้วจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าพื้นที่ภาคใต้จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าใหม่ เพื่อรองรับกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นทุกปี