นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางมีการรับเงินเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 ช่วงไตรมาสแรก (ต.ค. – ธ.ค. 2559) ผ่านระบบ GFMIS ณ วันที่ 4 มกราคม 2560 จำนวน 692,558 ล้านบาท เป็นการนำส่งรายได้ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 603,161 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำส่งรายได้จากภาษีต่างๆ (ก่อนถอนคืน) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวน 149,663 ล้านบาท 94,552 ล้านบาท และ 58,669 ล้านบาท ตามลำดับ
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2559 (1 ต.ค. – 30 ธ.ค. 59) เบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมได้จำนวน 876,120 ล้านบาทของวงเงินงบประมาณ 2,733,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.06 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.06 (เป้าหมายร้อยละ 30) และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.84 (ปีก่อนเบิกจ่ายได้ร้อยละ 30.22) โดยแบ่งเป็น รายจ่ายประจำเบิกจ่ายแล้วจำนวน 783,933 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,184,128 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.89 ขณะที่รายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 92,187 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 464,226 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.86 หากเปรียบเทียบผลการเบิกจ่ายสิ้นไตรมาสแรก พบว่า รายจ่ายประจำสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3.13 (เป้าหมายร้อยละ 32.76) ส่วนรายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบกลาง) สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 0.86 (เป้าหมายร้อยละ 19.00) เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐได้เร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 92,985 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 263,374 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.31 มีการก่อหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 203,250 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.17 ในส่วนของผลการเบิกจ่ายตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล คือ มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ (วงเงิน 23,000 ล้านบาท) เบิกจ่ายแล้วจำนวน 13,395 ล้านบาท ของวงเงิน 20,252 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 66.14 โดยมีการก่อหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 18,736 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92.51
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2559 (1 ต.ค. – 30 ธ.ค. 59) เบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมได้จำนวน 876,120 ล้านบาทของวงเงินงบประมาณ 2,733,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.06 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.06 (เป้าหมายร้อยละ 30) และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.84 (ปีก่อนเบิกจ่ายได้ร้อยละ 30.22) โดยแบ่งเป็น รายจ่ายประจำเบิกจ่ายแล้วจำนวน 783,933 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,184,128 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.89 ขณะที่รายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 92,187 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 464,226 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.86 หากเปรียบเทียบผลการเบิกจ่ายสิ้นไตรมาสแรก พบว่า รายจ่ายประจำสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3.13 (เป้าหมายร้อยละ 32.76) ส่วนรายจ่ายลงทุน (กรณีไม่รวมงบกลาง) สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 0.86 (เป้าหมายร้อยละ 19.00) เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐได้เร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 92,985 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 263,374 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.31 มีการก่อหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 203,250 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.17 ในส่วนของผลการเบิกจ่ายตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล คือ มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ (วงเงิน 23,000 ล้านบาท) เบิกจ่ายแล้วจำนวน 13,395 ล้านบาท ของวงเงิน 20,252 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 66.14 โดยมีการก่อหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 18,736 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92.51