นางเรวดี สุทธินุ่น รองผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่า ภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการสายดินตู้น้ำดื่มประจำปี 2560 เพื่อสร้างความปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตู้น้ำดื่ม ณ โรงเรียนสวนลุมพินี ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร ว่า ขอแนะนำให้ทุกโรงเรียนติดตั้งสายดินตู้น้ำดื่ม และระบบป้องกันไฟรั่วที่ตู้น้ำดื่มของเด็กนักเรียน เพราะจะช่วยป้องกันอุบัติภัยแก่เด็กๆ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนเพิ่มประมาณ 2,500 บาท แต่ก็คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ กฟน.เล็งเห็นถึงความสำคัญ และตระหนักถึงความปลอดภัยของเยาวชน และบุคลากรในสถานศึกษา ที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะตู้น้ำดื่ม ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับครูและนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการสายดินตู้น้ำดื่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัย สร้างความมั่นใจ และป้องกันอันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตู้น้ำดื่ม โดยมีการติดตั้งสายดินพร้อมเครื่องตัดไฟรั่ว พร้อมบำรุงรักษาสายดินตู้น้ำดื่มแก่โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2548 จำนวน 1,068 โรงเรียน ใช้งบประมาณกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งตั้งแต่ติดตั้งไม่พบผู้ได้รับอันตรายจากระบบไฟฟ้าที่ตู้น้ำดื่มแต่อย่างใด
ด้านนายรุจ เหราบัตย์ รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ กฟน. กล่าวว่า จากที่ กฟน.มีความเชี่ยวชาญในการวางระบบไฟฟ้า จึงเล็งขยายธุรกิจให้คำปรึกษาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้มีการเสนอราคาในเมียนมาร์แล้วรอเพียงความชัดเจนว่าจะได้รับการว่าจ้างหรือไม่ ส่วนการให้บริการธุรกิจเสริมรูปแบบใหม่ในประเทศขณะนี้ ได้มุ่งเน้นเรื่องพลังงานทดแทน เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการประหยัดพลังงานในอาคารภาครัฐที่จะเป็นเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน หรือเคพีไอด้วย เช่น การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ผลิตไฟฟ้าบนหลังคา ซึ่งที่ผ่านมา กฟน.ให้บริการติดตั้งแก่กรมบัญชีกลาง ล่าสุดต้นทุนผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปลดต่ำลงมากเหลือประมาณ 60,000 บาทต่อกิโลวัตต์ เท่านั้น
ทั้งนี้ กฟน.เล็งเห็นถึงความสำคัญ และตระหนักถึงความปลอดภัยของเยาวชน และบุคลากรในสถานศึกษา ที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะตู้น้ำดื่ม ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับครูและนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการสายดินตู้น้ำดื่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัย สร้างความมั่นใจ และป้องกันอันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตู้น้ำดื่ม โดยมีการติดตั้งสายดินพร้อมเครื่องตัดไฟรั่ว พร้อมบำรุงรักษาสายดินตู้น้ำดื่มแก่โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2548 จำนวน 1,068 โรงเรียน ใช้งบประมาณกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งตั้งแต่ติดตั้งไม่พบผู้ได้รับอันตรายจากระบบไฟฟ้าที่ตู้น้ำดื่มแต่อย่างใด
ด้านนายรุจ เหราบัตย์ รองผู้ว่าการธุรกิจและบริการ กฟน. กล่าวว่า จากที่ กฟน.มีความเชี่ยวชาญในการวางระบบไฟฟ้า จึงเล็งขยายธุรกิจให้คำปรึกษาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้มีการเสนอราคาในเมียนมาร์แล้วรอเพียงความชัดเจนว่าจะได้รับการว่าจ้างหรือไม่ ส่วนการให้บริการธุรกิจเสริมรูปแบบใหม่ในประเทศขณะนี้ ได้มุ่งเน้นเรื่องพลังงานทดแทน เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการประหยัดพลังงานในอาคารภาครัฐที่จะเป็นเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน หรือเคพีไอด้วย เช่น การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ผลิตไฟฟ้าบนหลังคา ซึ่งที่ผ่านมา กฟน.ให้บริการติดตั้งแก่กรมบัญชีกลาง ล่าสุดต้นทุนผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปลดต่ำลงมากเหลือประมาณ 60,000 บาทต่อกิโลวัตต์ เท่านั้น